Monday, December 3, 2012

Heart Disease โรคหัวใจ นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญ

Heart Disease โรคหัวใจ นี่อาจเป็นสาเหตุสำคัญ





Subject: Heart Attacks and Drinking Warm Water
PA very good article which takes two minutes to read. Sent by a friend who had about 25 or 30 years in the field with such emergencies....I ' m sending this to persons I care about......why not do the same ?????
This is a very good article. Not only about the warm water after your meal, but about Heart Attacks. The Chinese and Japanese drink hot tea with their meals, not cold water, maybe it is time we adopt their drinking habit while eating.
นี่เป็นบทความที่ดีมาก ไม่ใช่แค่เรื่องน้ำอุ่นหลังอาหาร แต่เป็นเรื่อง หัวใจวาย เลยทีเดียว
คนจีนและคนญี่ปุ่นจะดื่มชาร้อนกับอาหาร ไม่ดื่มน้ำเย็น และตอนนี้คงถึงเวลาแล้วที่เราจะนำ นิสัยการดื่ม แบบนี้มาใช้เวลาเรากิน
For those who like to drink cold water, this article is applicable to you. It is nice to have a cup of cold drink after a meal. However, the cold water will solidify the oily stuff that you have just consumed. It will slow down the digestion. Once this ' sludge ' reacts with the acid, it will break down and be absorbed by the intestine faster than the solid food. It will line the intestine. Very soon, this will turn into fats and lead to
Cancer . It is best to drink hot soup or warm water after a meal.
บทความนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบดื่มน้ำเย็น มันรู้สึกดีที่ได้ดื่มน้ำเย็นๆซักแก้วนึง หลังอาหาร แต่น้ำเย็นจะทำ ให้ไขมันจากอาหารที่เรากินเข้าไปจับตัวกันและมันก็ทำให้การย่อยช้าลงด้วย
เมื่อกากไขมันเหล่านี้ทำปฏิกิริยากับกรด มันจะแตกตัวและถูกดูดซึมโดย ลำไส้ และในไม่ช้า มันจะกลายเป็นไขมันซึ่งส่งผลให้เกิด มะเร็ง ได้ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดถ้าเราดื่มซุบร้อนๆ หรือ น้ำอุ่นหลังอาหาร

Common Symptoms Of Heart Attack...
A serious note about heart attacks - You should know that not every heart attack symptom is going to be the left arm hurting.. Be aware of intense pain in the jaw line.
อาการสามัญของหัวใจวาย
หมายเหตุที่สำคัญของหัวใจวาย - คุณควรรู้ว่าไม่ทั้งหมดของอาการหัวใจวายนั้นจะเป็น การเจ็บที่แขนซ้าย ระวัง การปวดที่รุนแรงของแนวกราม ด้วย
You may never have the first chest pain during the course of a heart attack. Nausea and intense sweating are also common symptoms. 60% of people who have a heart attack while they are asleep do not wake up. Pain in the jaw can wake you from a sound sleep. Let 's be careful and be aware. The more we know, the better chance we could survive.
คุณอาจจะไม่มี อาการเจ็บหน้าอก เป็นอันดับแรก ระหว่างการเป็นหัวใจวาย อาการคลื่นไส้และเหงื่อออกอย่างมาก ก็เป็นอาการสามัญ 60% ของผู้ที่มีอาการหัวใจวายขณะนอนหลับจะไม่ตื่นเลย อาการปวดที่กรามสามารถปลุกคุณจากการนอนได้ จงระวังและตระหนักไว้ ยิ่งเรารู้มากเท่าไหร่ ก็มีโอกาสที่เราจะมีชีวิตรอดเท่านั้น
A cardiologist says if everyone who reads this message sends it to 10 people, you can be sure that we 'll save at least one life. Read this & Send to a friend. It could save a life. So, please be a true friend and send this article to all your friends you care about.
นักหัวใจวิทยาท่านหนึ่งพูดว่า ถ้าใครก็ตามที่ได้อ่านข้อความนี้ส่งมันต่อไปยังคนอีก 10 คน คุณแน่ใจได้เลยว่าเราจะช่วยชีวิตคนๆหนึ่งได้ ดังนั้น โปรดเป็นเพื่อนที่ดีและส่งบทความนี้ให้เพื่อนทุกคนที่คุณห่วงใย
แปลโดย l3owBearY
http://bowbeary.hi5.com

เบาหวาน-หลอดเลือดแดงแข็ง-โรคหัวใจ

Pic_304045


มีการกล่าวขานหลายๆ อย่างเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เบาหวานทำให้เกิดโรคหัวใจ เบาหวานทำให้เกิดอัมพาต เบาหวานทำให้ตาบอด เบาหวานทำให้ไตวาย เบาหวานทำให้ถูกตัดขา ฯลฯ

แล้วผู้ที่เป็นเบาหวาน กลัวอะไรมากที่สุด บางคนกลัวตาบอด บางคนกลัวล้างไต บางคนกลัวเป็นอัมพาต บางคนกลัวถูกตัดขา หลากหลายต่างๆ กันไป แน่นอน....ถ้าไม่เกิดขึ้นดีที่สุด แต่....คงไม่โชคดีตลอดไป ถ้าเกิดโรคแทรกซ้อน นั่นคงหมายถึงต้องทุกข์ทรมานตลอดชีวิต

เบาหวานตายจากอะไรมากที่สุด

คง ไม่ยากที่จะเดาคำตอบได้ว่า เบาหวานตายจากโรคหัวใจมากที่สุด คนที่เป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนที่ไม่เป็น 2-4 เท่า และโรคหัวใจที่ทำให้เกิดอัตราตายสูงสุดคือโรคหัวใจขาดเลือด (ischemic heart disease) หรือโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารี (coronary heart disease)

นั่น หมายความว่า ต้องมีการตีบของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจจึงทำให้เกิดภาวะหัวใจขาด เลือด  การที่หลอดเลือดแดงตีบก็ต้องเกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) ที่เกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ (คือหลอดเลือดแดงโคโรนารี)

เบา หวานเป็นปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือดแดงแข็ง แต่เบาหวานและหลอดเลือดแดงแข็งเป็นกระบวนการคนละอย่างกัน การเปลี่ยนแปลงในพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดงแข็งอาจเกิดขึ้นก่อนการเป็นเบา หวานหลายปีหรืออาจนับสิบปี ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นเบาหวานครั้งแรกพบมีพยาธิสภาพของหลอดเลือดแดง แข็งแล้วถึง 50%!!
ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเป็นสาเหตุนำไปสู่การตายในเบา หวานถึง 65% โดย 40% มาจากหัวใจขาดเลือด อีก 15% มาจากโรคหัวใจอย่างอื่น และที่เหลือ 10% จากสมองขาดเลือด จะเห็นว่าสาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดทั้ง 3 ประการนี้ มาจากภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง

ทำไมเบาหวานจึงไปเกี่ยวข้องกับหลอดเลือดแดงเข็ง

ภาวะ ดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) เป็นสาเหตุสำคัญของเบาหวานประเภทที่ 2 รวมทั้งเป็นสาเหตุสำคัญของกลุ่มอาการเมตะบอลิกด้วย ภาวะดื้อต่ออินซูลินพบในเบาหวานประเภทที่ 2 ประมาณ 85-90% และจะคงสภาพนี้ไปตลอด เมื่อการหลั่งอินซูลินลดลง น้ำตาลในเลือดเริ่มสูงขึ้น โดยน้ำตาลในเลือดหลังอาหารสูงขึ้นก่อนน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร เมื่อระดับอินซูลินลดลงถึงระดับหนึ่งน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารจึงเริ่มสูง ขึ้น โดยทั่วไปหน้าที่ตับอ่อนในการสร้างอินซูลินจะสูญเสียไปประมาณ 50% ขึ้นไป น้ำตาลในเลือดขณะอดอดอาหารจึงเริ่มสูง อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ เบาหวานเป็นความผิดปกติที่มีการดำเนินของโรคอย่างต่อเนื่อง หน้าที่ของตับอ่อนจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เป็นนานขึ้น นั่นหมายความว่า ถ้าไม่ได้รักษา โรคจะเป็นมากขึ้น น้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามระดับของอินซูลินที่ลดลง ในขณะที่ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังคงสูงเหมือนเดิม

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ยังมีความสัมพันธ์กับความอ้วน มีเพียงประมาณ 20% ของผู้ที่อ้วนเท่านั้นที่ไม่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในขณะที่ผู้ที่ผอมหรือมีน้ำหนักปกติมีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ประมาณ 20% เช่นกัน  นอกจากอ้วนแล้ว ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง (ไตรกลีเซอไรด์สูง, ไขมันเอชดีแอลซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่ำ) ตลอดจนรบกวนหน้าที่ของเยื่อบุเซลล์ชั้นในของผนังหลอดเลือดด้วย (endothelial cell) ความผิดปกติต่างๆ เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดหลอดเลือดแดงแข็งทั้งสิ้น (จริงๆ แล้วมีมากกว่านี้อีกหลายอย่าง)

ภาวะดื้อต่ออินซูลินจึงเป็นเหตุสำคัญต่อการเกิดหลอดเลือดแดงแข็งและเบาหวาน

น้ำตาล ในเลือดที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงที่กระตุ้นกระบวนการของหลอดเลือด แดงแข็ง ความผิดปกติในกระบวนการเมตะบอลิสม ก่อให้เกิดการสร้างสารเคมีหรือกระบวนการบางอย่างที่ไปมีส่วนทำลายหลอดเลือด แดง เช่น การทำหน้าที่ของเยื่อบุเซลล์ชั้นในของผนังหลอดเลือดแดง (endothelial cell) ผิดปกติ ทำให้สูญเสียกลไกการป้องกันหลอดเลือด และไปกระตุ้นกระบวนการทำลายหลอดเลือดแทนการเพิ่มอนุมูลอิสระ และเพิ่ม oxidative stress การเปลี่ยนแปลงในกลไกการแข็งตัวของเลือดให้มีการเกาะจับตัวของเลือดได้ง่าย ขึ้น การกระตุ้นกลไกการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง การเพิ่มการจับตัวของน้ำตาลกลูโคสกับสารโปรทีนบางอย่าง (glycosylation) ซึ่งเป็นเสมือนสารพิษในร่างกาย และ ฯลฯ


เบาหวานจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรงต่อการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง

เมื่อ เกิดหลอดเลือดแดงแข็ง จะเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย กลไกการเกิดจะค่อยๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อถึงระดับที่เลือดไหลเวียนสู่อวัยวะที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอ ก็เกิดเป็นโรคขึ้น ความผิดปกติที่เกิดขึ้นจึงเกิดจากการขาดเลือด อวัยวะที่สำคัญที่เกี่ยวกับการดำรงชีพคือหัวใจ เมื่อหัวใจขาดเลือดนำไปสู่อาการและโรคแทรกซ้อนหลายอย่าง รวมทั้งการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน

จงอย่าประมาท อยู่อย่างมีสติและปัญญา และร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันต่อเบาหวาน-หลอดเลือดแดงแข็ง-โรคหัวใจกันเถิด

ยากหรือไม่ที่จะสร้างภูมิคุ้มกัน
เป็นไปได้หรือไม่ที่จะป้องกันเบาหวาน
ทำอย่างไรที่วินิจฉัยเบาหวานแต่แรกเริ่ม
รักษาเบาหวานให้เหมือนปกติได้จริงหรือ
คงต้องบอกว่า “ไม่ลอง ไม่รู้”  ถ้า “ไม่รู้ ก็น่าจะลอง” เพราะถ้า “ลองแล้ว จะรู้”

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเวชธานี

Sunday, October 7, 2012

โรคหัวใจ...แต่ไม่ไร้รัก

โรคหัวใจ...แต่ไม่ไร้รัก



มื๊อกลางวันทานซะที่ทำงาน
เช็คเมลซะหน่อยนะ เจอบทความนี้ ...ดวงแก้ว สิทธิเดชบริพัฒน์...
น้องพยาบาลส่งมาให้ลองอ่านดูกันค่ะ เผื่อจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจไร้รัก
ใครที่หัวใจยังปกติดี ก็ช่วยบอกต่อได้กุศลแรง




วินทร์ เลียววาริณ
21 กันยายน 2550





โรคหัวใจ’ ทำให้ประเทศชาติสูญเสียทรัพยากรน้ำ (ตา)
ในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก
‘โรคหัวใจ’ เป็นบ่อเกิดของความแตกแยก หย่าร้าง
ไปจนถึงการทำร้ายร่างกาย
การรักษาโรคตามอาการไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
ทางดีที่สุดคือการป้องกันหัวใจไม่ให้เป็นโรค
ขณะที่โรคหัวใจวายอาจเป็นสาเหตุของความตายอันดับต้นๆ อาการ ‘หัวใจ Y’ กลับทำให้สดชื่นแจ่มใส หัวใจ Y (Y = Young)
คือหัวใจที่เป็นหนุ่มสาวเสมอ ไม่รู้เหนื่อย ไม่รู้แก่
ต่อไปนี้คือเทคนิครักษาสภาพหัวใจของคนที่รักกัน เคยรักกัน และ/หรืออยากรักกันมากขึ้น สามารถเลือกใช้ได้มากกว่าหนึ่งวิธี:


,,,1,,,



เทคนิคใช้ความอุ่น ..Heart Warming..
เป็นเทคนิคโบราณ เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ยังไม่ล้าสมัย
ทคนิคนี้เน้นการให้ความอบอุ่นกับคนรักอย่างเสมอต้นเสมอปลาย
เช่น ก่อนแต่งงานเคยมอบกุหลาบแดงแก่คนรัก
หลังแต่งงานแล้วห้าปีสิบปี ก็ยังมอบให้ตลอดเรื่อยๆ

..ไม่มีข้ออ้างราคาดอกไม้สูงขึ้นกี่เปอร์เซนต์..
ก่อนแต่งงานไปรับส่งแฟน หลังแต่งงานก็ยังไปรับส่ง
..ไม่มีข้ออ้างเรื่องไม่ว่าง..
เทคนิคนี้เป็นหลักสำคัญของการถือไม้เท้ายอดทอง ถือกระบองยอดเพชร


,,,2,,,



เทคนิคเปลี่ยนหัวใจ (Heart Transplant)
การเปลี่ยนหัวใจนี้ทำได้ง่ายมาก นั่นคือเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ไม่ทำในสิ่งที่เรารู้ว่าอีกฝ่ายไม่ชอบ
ถ้าทั้งสองฝ่ายรู้จักคิดถึงหัวอกกันและกันสม่ำเสมอ
จะไม่มีความบาดหมางใดๆ มากวนใจ
อนึ่ง อัตราการป้องกันโรคหัวใจด้วยเทคนิคนี้สูงถึง 99.25 เปอร์เซนต์


,,,3,,,



เทคนิคการทำบายพาส (Bypass Surgery)
ในกรณีที่ท่านประสบอุปสรรคในชีวิตคู่
ให้ปล่อยเรื่องไม่ดีผ่าน(Bypass)ออกไปเสีย
อย่านำเรื่องไม่ดีเข้าบ้าน
ไม่เอาเรื่องไม่ดีของคนรักไปโพนทะนา
เทคนิคนี้รวมถึงการไม่นินทาชาวบ้าน
อัตราการป้องกันโรคหัวใจด้วยเทคนิคนี้สูงถึง 98.5 เปอร์เซนต์


,,,4,,,



เทคนิคการทำบอลลูน (Heart Balloon)
ชีวิตเราต้องเจอเรื่องไม่ดีแทบทุกวัน
เทคนิคนี้สอน
ให้เรารู้จักปล่อยวาง สิ่งร้ายๆ ที่เกิดขึ้น
แล้วก็แก้ปัญหาเสีย
เรียนรู้จากประสบการณ์ แต่ไม่เก็บไว้ในใจข้ามปีข้ามชาติ
รู้จักลอยตัวให้เบาสบายเหมือนลูกบอลลูน





,,,5,,,



เพิ่มระดับความหวาน (Heart Glucose)
แปลกแต่จริง
ความหวานไม่มีผลเสียต่อหัวใจเหมือนต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ
จงเติมความหวานเข้าไปในหัวใจให้สูงเข้าไว้
เอ่ยคำว่า ‘รัก’ ต่อคนรักบ่อยเท่าที่ต้องการ
อย่างน้อยวันละครั้งก่อนหรือหลังอาหาร หรือก่อนนอน
เชื่อเถิด กระทรวงสาธารณสุขทั่วโลกรับรองมาแล้วว่าเทคนิคนี้ไม่มีอันตรายอย่างแน่นอน


,,,6,,,



นวดหัวใจด้วยการสัมผัส (Touching)
การสบตากัน การแตะมือเบา ๆ การกอดกัน
ช่วยทำให้ หัวใจมีคุณภาพดีมาก จากการทดสอบคู่สมรส 14,216 คู่ จากเจ็ดทวีป พบว่าการสัมผัสเบาๆ
แต่อบอุ่นทำให้หัวใจวาบหวามดื่มด่ำ
ช่วยให้ร่างกายเพิ่มสารเอนโดรฟิน สบายกายสบายใจขึ้นมาก


,,,7,,,



ลดระดับคาร์บอนไดออกไซด์แก่หัวใจ
ไม่ใช้คำหยาบ ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่แดกดัน ไม่ตีวัวกระทบคราด
ไม่พูดเรื่องไม่เป็นมงคล มองโลกในแง่ดี จะทำให้หัวใจเต้นเป็นจังหวะดี





,,,8,,,



เพิ่มออกซิเจนเข้าหัวใจ
หัวใจต้องการสารอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์
ออกซิเจนก็คือลมปากหวานหู รู้จักง้อบ้างเทคนิคนี้ช่วยป้องกันลิ้นหัวใจรั่ว





,,,9,,,



การช็อคหัวใจ (Shock Technique)
บางครั้งช็อคหัวใจของอีกฝ่าย ที่เรียกว่า ‘เซอร์ไพรส์’
เช่น พาไปกินอาหารนอกบ้านในที่แปลกๆ พาไปฟังดนตรี
ตลอดจนทำกิจกรรมที่ไม่จำเจร่วมกัน



,,,10,,,


การกระตุ้นหัวใจด้วยเสียง (Sound Therapy)
โทรศัพท์หาคนรักบ้าง (แม้ไม่ถี่เท่าก่อนแต่งงาน) เพิ่มการใช้เสียงกระซิบ ลดการเสียงกระชาก
นักวิทยาศาสตร์พิสูจน์แจ้งแล้วว่า การลดระดับเสียงลงเพียงไม่กี่เดซิเบลต่อวัน ช่วยทำให้ชีวิตคู่ดีขึ้นมาก





,,,11,,,



เทคนิคแยกหัวใจ (Absence Technique)
แยกทางกันบ้าง การไม่เจอหน้ากันตามสมควรทำให้คิดถึงกันมากขึ้น
ที่ฝรั่งว่า Absence makes the hearts grow fonder. เทคนิคนี้พิสูจน์แล้วว่าทำให้หัวใจโหยหา
กันและกันอย่างเห็นได้ชัด


,,,12,,,



เทคนิควางใจ (Trust)
ลดความระแวง ไม่ต้องตามเช็กว่าไปไหน
ไม่ต้องแอบตรวจเสื้ออีกฝ่ายว่ามีซากลิปสติกไหม
ไม่ต้องจ้างนักสืบ ฯลฯ วิธีนี้ป้องกันโรคหัวใจรั่วชะงัด





,,,13,,,



เทคนิคบ่มหัวใจ (Aging Process)
ไม่เฉพาะแต่ไวน์ที่บ่มยิ่งนานยิ่งดี หัวใจก็เช่นกัน
คนรักกันไม่ควรชิงสุกก่อนห่าม
ไม่ควรผลีผลาม เพราะความรู้สึกที่เราเชื่อว่าเป็นรัก
อาจเป็นเพียงความหลงใหลชั่วคราว

นัก วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า เทคนิคนี้ช่วยเพิ่มสารเคมีที่เรียกว่า Romantica Substance ในหัวใจสูงถึง 81.25 เปอร์เซนต์ สูตรเคมีคือ R2L2 R = Romantic L = Love







,,,14,,,



เพิ่มไขมันที่ดี (HDL) ให้หัวใจ
ไขมันชนิดดี (HDL) จะสร้างความอบอุ่น ป้องกันเรื่องไม่ดีที่มากระทบ ไม่ให้ทำอันตรายต่อหัวใจได้
HDL (= High Density Love) มาจากการออกกำลังกาย
ทำให้หัวใจแข็งแรง พร้อมรับมือเรื่องแย่ๆ ได้ทุกเมื่อ


,,,15,,,



ลดคอเลสเตอรอลที่หัวใจ
คอเลสเตอรอลที่เกาะหัวใจเกิดมาจากการเสพสิ่งไม่ดีมากเกินไป
ทำให้เส้นเลือดหัวใจอุดตัน
การใช้จ่ายเกินกำลัง การหลงระเริงไปกับบริโภคนิยม ฯลฯ

การเสพอย่างพอเพียง
เท่ากับช่วยเก็บหอมรอมริบ
ช่วยกันประหยัด เพื่ออนาคตของตนเองและครอบครัว

เทคนิคต่างๆ เหล่านี้ต้องทำต่อเนื่อง วันละเล็กวันละน้อย
กว่าจะบรรลุขั้น 'หัวใจ Y' อาจจะยาก
แต่เพื่อคนที่เรารัก มันคุ้มที่จะเริ่มต้นทำมิใช่หรือ?









--------------------------------------------------------------------------------

ท้ายเรื่อง เพื่อให้เข้ากับเทศกาลเดือนแห่งความรัก
อยากนำบทความนี้มาฝากกันอีกครั้งค่ะ
และฝากคำคมสำหรับคนที่หัวใจมีรักทุกๆคนค่ะ


I would rather have eyes that cannot see; ears that cannot hear; lips that cannot speak, than a heart that cannot love.

ข้ายินยอมมีดวงตาที่มิอาจมองเห็น หูที่มิอาจสดับฟัง
ริมฝีปากที่มิอาจพูด มากกว่าหัวใจที่มิอาจรัก

Robert Tizon
รอเบิร์ต ไทซอน




และขอบคุณภาพประกอบจาก google ค่ะ


แอมอร

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจ


โรคหัวใจ นั้นเป็นคำที่มีความหมายกว้าง และเราสามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้

โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้



โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น การรักษา อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ



โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน สาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด

วิดีโอต่อไปนี้ เป็นสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ



โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ



โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น

การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก

มะเร็งที่หัวใจ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น



ลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ



อาการหอบ
อาการเหนื่อยแบบหมดแรง
อาการใจสั่น คือ การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ
อาการขาบวมจากโรคหัวใจ เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น


อาการปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

การป้องกันโรคหัวใจก่อนที่จะสายเกินแก้

สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น

         ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

          ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น

          รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น

ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ

การตรวจทางโรคหัวใจ
การ ตรวจทางโรคหัวใจ ต้องอาศัยประวัติ อาการที่ละเอียด เพื่อดูว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคหัวใจหรือไม่ เนื่องจากมีหลายโรคที่ให้อาการคล้ายกับโรคหัวใจ อาจแบ่งคร่าวๆได้ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ


การตรวจพื้นฐาน ได้แก่

การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายทุกระบบด้วย เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ บอกโรคของเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติก็ต่อเมื่อมีโรคหัวใจที่รุนแรง เช่น หัวใจขาดเลือดรุนแรง คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจ

เอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นทั้งปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ การกระจายของเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด หรือ หัวใจล้มเหลว เงาของหัวใจซึ่งบอกขนาดหัวใจได้ดีพอควร

ตรวจเลือด ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง แต่เป็นการดูเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน



การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test
การทดสอบการเป็นลมด้วยเตียงปรับระดับ Tilt Table Test
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. Holter หรือ Ambulatory ECG monitoring
การสวนหัวใจและฉีด"สี"ดูหลอดเลือดหัวใจ Cardiac Catheterization and Angiogram
การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน Angioplasty
การตรวจระบบไฟฟ้าหัวใจ Electrophysiologic Study
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุ Radiofrequency Ablation
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร Permanent Cardiac Pacemaker


ที่มา :


http://www.thaiheartweb.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538921876&Ntype=8

http://cardiac-blog.blogspot.com/2009/10/heart-diseases-cardiac-diseases.html

http://health.kapook.com/view28.html

ไวน์แดงป้องกันการเกิดโรคหัวใจหรือหัวใจหยุดเต้น

Red wine prevent heart disease

การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าสารต้านอนุมูลอิสระในไวน์แดงจะ
สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งบางชนิด
สารเรสเวอราทรอล (ยาปฏิชีวนะในผิวและเมล็ดขององุ่นแดง แต่ควรจะอยู่ในกระบวนการหมัก) ในไวน์แดงส่วนใหญ่สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดและช่วยป้องกันโรคหัวใจ, ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจล้มเหลว
สารเรสเวอราทรอลสามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือดและป้องกันการรวมตัวของเลือด
ดื่มไวน์แดง 1 แก้ว ทุกวันสำหรับผู้หญิง และ 2 ไวน์แดง 2 แก้วทุกวัน สำหรับผู้ชาย สามารถลดการเกิดโรคหัวใจได้
30-40%
ครั้งต่อไปเราจะนำเสนอผลประโยชน์อื่น ๆ ที่ได้จากจากไวน์แดง โปรดติดตามค่ะ!

โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease ชื่อย่อ IHD)

Ischemic-heart-disease-0โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease ชื่อย่อ IHD)

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ บางคนก็เรียกว่า โรคหัวใจโคโรนารี ปัจจุบันพบมากใน คนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ลักษณะอาการเบื้องต้นคือ หลอดเลือดหัวใจแขนงใดแขนงหนึ่งมีการตีบตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนขาด เลือดไปเลี้ยงเกิดอาการเจ็บที่หน้าออกและอ่อนแรง ในระยะเริ่มต้นหลอดเลือดหัวใจจะมีอาการตีบตัวเพียงชั่วขณะกล้ามเนื้อหัวใจจะ ขาดเลือดไปเลี้ยงเพียงชั่วคราวจะเกิดเป็นอาการเจ็บปวดที่หน้าอกเพียง ประเดี๋ยวประด๋าวยังไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ถ้าเป็นถึงขั้นร้ายแรง หัวใจมีอาการอุดตันอย่างถาวร กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เซลล์กล้าม เนื้อหัวใจก็จะตาย และทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกที่รุนแรง เกิดอาการที่เรียกว่า "หัวใจวาย" เป็นอันตรายถึงชีวิตภาวะแบบนี้เรียกว่าว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

กลุ่มบุคคลที่เสียงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

โรคนี้เกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมีการแข็งตัวทำให้หลอดเลือดหัวใจ ค่อย ๆ ตีบลงจนถึงอุดตัน ผู้สูงอายุทุกคนมักมีภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติ ผู้สูงอายุวันกลางคน (40-50 ปี) ก็อาจจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ ยิ่งถ้ามีประวัติสูบบุหรี่ด้วยแล้ว คนอ้วน คนที่เครียดง่าย ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอจะมีความเสี่ยงกว่าคนทั่วไป โรคหัวใจขาดเลือดนี้ถ้าเป็นแล้วมักจะมีอาการแบบเรื้อรังต้องเข้าพบแพทย์อยู่ เสมอ แต่ถ้าในรายที่เป็นน้อยการดูแลตัวเองก็อาจจะทำให้หายหรือทุเลาได้


โรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด




แนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

  1. งดการสูบบุหรี่
  2. อย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วน รักษาน้ำหนักและสุขภาพอยู่เสมอ
  3. ลดอาหารที่มีไขมันสูง กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำตาล ของหวาน กินผลไม้ให้มาก ๆ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ลดภาวะความเครียดทางอารมณ์ ฝึกสมาธิเพื่อความผ่อนคลาย
  6. ตรวจเช็คร่างกายประจำปี ถ้าครอบครัวคนป่วยโรคนี้เพราะอาจจะมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์
  7. ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดัน เบาหวาน เกาต์ ต้องรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดแทรกซ้อนเข้าไปอีก

ลักษณะของผู้มีอาการโรคหัวใจขาดเลือด

  1. มักพบมากในวัยกลางคนอายุ 30 ปีขึ้นไป
  2. ปวดที่ตำแหน่งยอดอก หรือ ลิ้นปี่ เจ็บตรงหน้าอกซีกซ้ายตำแหน่งหัวใจ
  3. มีลักษณะปวดแบบจุก ๆ เหมือนถูกบีบ หรือ ถูกของกดทับ และมีอาการปวดร้าวขึ้นไปถึงคอ ขากรรไกร หัวไหล่หรือต้นแขน ขณะมีอาการมักจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงร่วมด้วย
  4. ระยะเวลาปวดจะเกิดครั้งละ 2 - 3 นาที อย่างมากไม่เกิน 15 นาที นั่งพักสักครู่ก็จะหายได้เอง
  5. อาการเหล่านี้สามารถกระตุ้นได้จาก การทำงานหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป การร่วมเพศ หรือ การมีอารมณ์โกรธ โมโห ตื่นเต้น ตกใจ หรือแม้แต่การกินข้าวอิ่ม หรือ หลังจากการอาบน้ำเย็น หรือ ถูกอากาศเย็นก็ได้

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

ควรไปทันทีถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. มีอาการเป็นลม มือเท้าเย็น
  2. หอบเหนื่อย
  3. เจ็บหน้าอกรึนแรง

แพทย์จะรักษาอย่างไร

แพทย์มักจะตรวจลักษณะอาการและร่างกายอย่างละเอียดและแนะนำข้อปฏิบัติต่าง ๆ พร้อมทั้งจ่ายยาช่วยให้เลือดขยายตัว ซึ่งมีทั้งชนิดกินประจำและชนิดอมใต้ลิ้น โดยยาอมใต้ลิ้นนี้คนไข้ต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลาใช้อมเมื่อมีอาการเจ็บหน้า อกกำเริบ ยานี้จะช่วยให้หายเจ็บหน้าอกได้ทันทีแต่มีผลข้างเคียงคือ อมแล้วจะมีอาการปวดศีรษะได้

วิธีการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

  1. กินยาและติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำอย่าได้ขาด
  2. งดสูบบุหรี่เด็ดขาด
  3. ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักไม่ให้อ้วน
  4. ลดอาหารที่มีไขมัน
  5. ไม่ออกกำลังกายที่ใช้แรงและหักโหมมาก ๆ
  6. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการกำเริบของโรค เช่น การกินข้าวอิ่มเกินไป งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่ใส่กาเฟอีน ระวังอย่าให้ตื่นเต้นตกใจหรือมีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจและอย่าอาบน้ำเย็น หรือถูกอาการเย็นมาก ๆ


แหล่งที่มาก หมอชาวบ้าน

เบาหวานกับโรคหัวใจ – Diabetic Heart Disease

เบาหวานกับโรคหัวใจ – Diabetic Heart Disease


(ที่มาของรูป http://www.nhsggc.org.uk/content/default.asp?page=s1419_12_1)
หรือเรียกว่า “โรคหัวใจในเบาหวาน” คือโรคหัวใจที่เกิดจากการเป็นเบาหวาน เมื่อเปรียบเทียบความรุนแรงกับ ของผู้ไม่เป็นเบาหวานพบว่า
  • มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหัวใจ
  • มีปัจจัยสาเหตุที่นำไปสู่โรคหัวใจ
  • อาจเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย
  • อาจจะมีความรุนแรงของโรคหัวใจมากกว่าคนอื่น
หลอดเลือดหัวใจตีบ
คือการที่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวเริ่มเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากเบาหวาน ร่วมกับการที่มีไขมันในเส้นเลือดสูงจะทำให้เกิดการตีบตันของหลอดเลือดที่จะ ไปเลี้ยงหัวใจ ซึ่งทำให้หัวใจขาดเลือดและอาจนำไปสู่สภาวะ ไตวาย ได้ และในผู้ป่วยเบาหวานบางรายพบว่า กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้น้อยกว่าปกติ แต่หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ตีบตัน จึงเชื่อว่าเกิดความผิดปกติของหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ซึ่งเป็นผลมาจากเบาหวาน
หัวใจล้มเหลว
คือสภาวะที่หัวใจไม่สามารถ ปั๊มเลือดแล้วส่งไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างทันท่วงที โดย หัวใจล้มเหลว ไม่ได้หมายความว่า หัวใจนั้น หยุด เต้น แต่อย่างไรก็ตาม อาการหัวใจล้มเหลวนั้น อันตรายมากและต้องการการรักษาอย่างทันท่วงที
ถ้าคุณมีอาการหัวใจล้มเหลว มีวิธีการรักษาพื้นฐานง่ายๆ คือ ให้ลด หรือ จำกัด กิจกรรมที่เกิดขึ้น ได้ (เพื่อให้หัวใจทำงานน้อยลง)
อาการ
อาการผิดปกติเบื้องต้นของร่างกาย ที่บ่งชี้ว่าอาจเป็น โรคหัวใจ พบบ่อยในคนทั่วไป ที่คิดว่าตัวเองมีสุขภาพดี ทั้งที่ความจริงอาจเป็นโรคหัวใจในระยะแรกเริ่ม มีดังนี้
  • เหนื่อยเวลาออกกําลังกาย เพราะหัวใจทําหน้าที่ในการ สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ขณะที่เราออกกําลังกาย หัวใจจะทํางานหนักมากขึ้น ปกติเวลาที่เราออกกำลังกายไปถึงระดับหนึ่งจะรู้สึกเหนื่อย แต่ในรายของคนที่มีอาการเริ่มต้นของ โรคหัวใจ แม้ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย จะรู้สึกเหนื่อยผิดปกติอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ดังนั้นหากออกกำลังกาย แล้วรู้สึกเหนื่อยง่ายผิดปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ได้ว่า คุณอาจเป็น โรคหัวใจ
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก มักพบบ่อยในคนที่เป็นโรค หลอดเลือดหัวใจตีบ และไขมันอุดตันในหลอดเลือดหัวใจ อาการดังกล่าวจะมีลักษณะเฉพาะคือ รู้สึกเหมือนหายใจอึดอัด และแน่นบริเวณกลางหน้าอก เหมือนมีของหนักทับอยู่ หรือรัดไว้ให้ขยายตัวเวลาหายใจ โดยมากอาการนี้ จะแสดงออกเวลาที่หัวใจต้องทำงานหนัก เช่น ระหว่างการออกกำลังกาย หรือใช้แรงมากๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือนว่า อาจเป็น โรคหัวใจ
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีด เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างของร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อย ทั้งที่ออกกำลังกายเพียงนิดหน่อย หรือเหนื่อยทั้งที่นั่งอยู่เฉยๆ ในกรณีที่เป็นมาก อาจทำให้ไม่สามารถนอนราบได้เหมือนปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจ และอึดอัดตรงหน้าอก นอกจากนั้น อาจมีอาการหอบจนต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึกอีกด้วย อาการภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ หากไม่รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้
  • ใจสั่นและหัวใจเต้นผิดจังหวะ ปกติหัวใจของเราจะเต้น ด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอประมาณ 60 -100 ครั้ง/นาที แต่สำหรับคนที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจขยับไปถึง150 -250 ครั้ง/นาที ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอนี้ จะทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น หายใจไม่ทัน
  • เป็นลมหมดสติ คืออีกหนึ่งอาการที่เตือนว่าคุณอาจ เป็น โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ซึ่งมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นลมหมดสติสูง เนื่องจากจังหวะการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ เพราะเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ให้จังหวะไฟฟ้าในหัวใจเสื่อมสภาพ ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลง และส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ จนทำให้เป็นลมไปชั่วคราวได้ ทั้งนี้ การเป็นลมหมดสติ มักจะเกิดในท่ายืนมากกว่านั่ง ทำให้ขณะล้มลงศีรษะมีโอกาสฟาดพื้น และเกิดการกระทบกระเทือนต่อสมองได้มากกว่า ดังนั้น ใครที่เป็นลมบ่อยๆ ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็น โรคหัวใจ ได้
  • หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ในกรณีนี้มักเกิดจากความผิด ปกติของเซลล์หัวใจโดยตรง และมักเกิดกับคนปกติที่ไม่มีอาการของ โรคหัวใจ มาก่อนล่วงหน้า ซึ่งหากมีอาการหัวใจหยุดเต้นกะทันหัน ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือที่รวดเร็ว อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุ
ผู้ป่วยเบาหวานอาจเป็นโรคหัวใจได้ 2 ลักษณะ คือ
  • เมื่อหลอดเลือดแดงที่เลี้ยงหัวใจเสื่อม จากเบาหวานร่วมกับการที่มีไขมันในเลือดสูง ก็จะทำให้เกิดการตีบของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดและหากอุดตัน ก็จะเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมา
  • นอกจากนี้ ยังพบว่าในผู้ป่วยเบาหวานบางราย กล้ามเนื้อหัวใจทำงานน้อยกว่าปกติ และบีบตัวน้อยกว่าปกติมาก แต่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจไม่ได้ตีบตัน กลุ่มนี้เชื่อว่าเกิดจากหลอดเลือดฝอยเล็กๆ ที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากเบาหวาน
สาเหตุการตายที่สำคัญในผู้ป่วยเบาหวาน คือ โรคหัวใจและหลอดเลือด โดยมีโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญ ที่พบบ่อยที่สุด
ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ต้องพึ่งอินซูลิน ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องพึ่งอินซูลิน มีสาเหตุการตายจากภาวะไตวาย และโรคหลอดเลือดหัวใจสูงสุดใกล้เคียงกัน
นอกจากนั้น ผู้ป่วยเบาหวานยังมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบและอุดตัน โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดแดงที่ขาตีบตันสูงกว่าประชาการทั่วไปหลายเท่าตัว
การรักษา
  • รักษาตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม)
  • หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส)
  • หากเกิดหลอดเลือดอุดตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทันที
การป้องกัน
  • ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ ปกติ เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของ หลอดเลือดแดงทั่วทั้งร่างกาย
  • ต้องควบคุมระดับความดันของร่างกาย ให้ไม่เกิน 130/80 เพื่อลดภาระของหัวใจ ซึ่งอาจจำเป็นต้องใช้ยาร่วมด้วยก็ได้
  • ลดน้ำหนัก และออกกำลังกาย อยู่เสมอ ด้วยการลดน้ำหนักทำให้ร่างกาย รับ อินซูลินได้ดีขึ้น และควรออกกำลังกายแบบเบาๆ ไม่ให้เป็นภาระแก่ร่างกายมากนัก
  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อตรวจสอบการทำงานของระบบไต
  • ตรวจตา โดยจักษุแพทย์ เพื่อตรวจสอบโรคเบาหวานขึ้นตา
  • ควรตรวจหัวใจอย่างละเอียด ด้วย อัลตราซาวน์หัวใจ และการเดินสายพาน เพราะมีบ่อยครั้งที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจและไม่แสดงอาการจนกระทั่งเป็นมาก แล้ว
  • เมื่อมีปัญหาทางสุขภาพ ให้สอบถามจากแพทย์ และ ทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงอาหาร และเครื่องดื่มที่มี ความหวาน มาก
ปัจจัยเสี่ยง
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความดันโลหิตสูง
  • กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป และในเพศหญิงคือหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว
  • คนที่เป็นโรคอ้วนหรือโรคอ้วนลงพุง คือมีรอบเอวใหญ่กว่ารอบสะโพก ตลอดจนการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย
  • โรคเบาหวานถือว่าเป็นสาเหตุสำคัญในประเทศไทย
ข้อมูลทางสถิติ / แนวโน้ม
  •  คนที่เป็นเบาหวาน มักจะเป็นโรคหัวใจด้วยในภายหลัง และสามารถเป็นโรคหัวใจได้เร็วกว่าคนทั่วไปที่ไม่เป็นเบาหวาน
  • สำหรับคนที่ป่วยเป็นเบาหวานแล้วเกิดโรคแทรกซ้อน คือโรคหัวใจนั้นอยู่ที่ 50% โดยเฉพาะคนป่วยเป็นเบาหวานมาระยะเวลานาน ยิ่งต้องระวังเพราะมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจมาก แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการควบคุมปัจจัยหลายๆ อย่างด้วย
  • ตามสถิติผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานและเป็นโรคหัวใจด้วย จะมีโอกาสเสียชีวิตถึง 40% แต่ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ จะมีโอกาสเสียชีวิตเพียง 15%

Friday, September 14, 2012

โรคหัวใจ กับ การระวังรักษา

โรคหัวใจ กับ การระวังรักษา

เราอาจแบ่งชนิดของโรคหัวใจคร่าวๆได้ดังนี้
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด บางครั้งวินิจฉัยได้แต่แรกคลอด แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะอายุมากก็มี ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์ เหมือน บ้านที่สร้างไม่เสร็จ มีรอยโหว่ รู้รั่ว ประตูปิดไม่ดี น้ำท่วม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วเรา ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี เช่น ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้
โรคลิ้นหัวใจ   ลิ้น หัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ ที่มาเป็นภายหลังส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และ เกิดลิ้นหัวใจพิการ (ตีบ รั่ว) ตามมา นอกจากนั้นลิ้นหัวใจพิการยัง อาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้
โรคกล้ามเนื้อหัวใจ   กล้าม เนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (อาจเกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางและบีบตัวอ่อนกว่าปกติมาก การรักษาโรคของกล้ามเนื้อหัวใจนี้ อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะ นำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือด ผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอย ไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)
โรคเยื่อหุ้มหัวใจ   เป็น โรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ


โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ   กลุ่ม นี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น
การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก
มะเร็งที่หัวใจ    คุณ คงได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับมะเร็งตามอวัยวะต่างๆบ่อยๆ เช่น ปอด ตับ กระดูก ไต เต้านม มดลูก และ ปากมดลูก รังไข่ ฯลฯ แต่น้อยครั้ง มากที่จะได้ยินมะเร็งหัวใจเพราะ เนื้องอกที่หัวใจพบได้น้อย ส่วนใหญ่ของมะเร็งหัวใจ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น
เจ็บหน้าอก
อวัยวะ ที่อยู่ในทรวงอกนอกจากหัวใจแล้วยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เมื่อมีการอักเสบหรือพยาธิสภาพของอวัยวะเหล่านี้ก็ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ได้ทั้งสิ้น แต่ลักษณะอาการอาจแตกต่างกัน
อาการต่อไปนี้เข้าได้กับอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1 เจ็บแน่นๆ อึดอัด บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้าย หรือ ทั้งสองด้าน (มักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว) บางรายจะร้าวไป ที่แขนซ้าย หรือ ทั้งสองข้าง หรือ จุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน
2 อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบ หรือ ขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง
3 ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หรือ หลังอาหาร
4 กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก มาก เป็นลม (อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริ ฉีก)

อาการต่อไปนี้ไม่เหมือนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
1 เจ็บแหลมๆคล้ายเข็มแทง เจ็บแปล๊บๆ เจ็บจุดเดียว กดเจ็บบริเวณหน้าอก
2 อาการเจ็บเกิดขึ้นในขณะพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน
3 อาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า หรือ ขยับตัว หรือ หายใจเข้าลึกๆ
4 อาการเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า
อาการตามข้อ 1,2 และ 3 อาจเกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อหน้าอก เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

ขาบวม
อาการ ขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือ(โซเดียม)และน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต (ขับเกลือไม่ได้) โรคหลอด เลือดดำอุดตัน (การไหลเวียนไม่สะดวก) ขาดอาหาร โปรตีนในเลือดต่ำ โรคตับ ยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือ ในบางราย ไม่พบสาเหตุ (idiopathic edema) การ บวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็ให้อาการเช่นนี้ได้เช่นกัน ดังนั้นเมื่อมีอาการขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบ เพื่อหาสาเหตุ จึงให้การรักษาได้ถูกต้อง
เป็นลม วูบ
คำ ว่า "วูบ" นี้เป็นปัญหาในการซักประวัติอย่างมาก เนื่องจากในภาษาไทยคำนี้มีความหมายต่างๆกัน แต่ในความหมายของแพทย์แล้ว จะตรงกับภาษาอังกฤษว่า syncope หมาย ถึง การหมดสติ หรือ เกือบหมดสติ ชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน โดยอาการเป็นอยู่ชั่วขณะ ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน โคลงเครง วูบวาบตามตัว หายใจไม่ออก อาการดังกล่าวอาจเกิดจาก ความผิดปกติของสมอง เช่น ลมชัก (แม้ จะไม่ชักให้เห็น) เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง หรือหยุดเต้นชั่วขณะ หรือ ความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว "วูบ" ยังอาจพบได้ในคนปกติที่ขาดน้ำ เสียเลือด ท้องเสีย ไม่สบาย ขาดการออกกำลังกาย ยาลดความดันโลหิต อีกด้วย

โรคเกี่ยวกับหัวใจและการรักษา

หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจตีบ
กล้าม เนื้อหัวใจตาย สาเหตุ : หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากแผ่นไขมัน และ ลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง (อายุ เพศชาย พันธุกรรม ไขมันในเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย) แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็เป็นได้
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุนตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่   รับประทานยาลดไขมันในเลือดหากควบคุมอาหารไม่ได้ ผลดี ให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี
     
ความดันโลหิตสูง สาเหตุ : มากกว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุ กลุ่มที่มีสาเหต ุคือ ไตวาย (บ่อยที่สุด) ความผิดปกติของ หลอดเลือด เนื้องอกบางชนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดปัญหาแทรกซ้อนจากความดันสูงในระยะยาว คือ ลดอัมพาต ลดโรคหัวใจ ลดไตวาย แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ 100 % ยังคงเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวอยู่บ้าง
หลักการรักษา : ควบคุมความดันโลหิตด้วยยา มียาหลายกลุ่มมาก เช่น ยาลดชีพจร ยาต้านแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยา ACEI ฯลฯ ยาที่ดีควรครอบคลุม 24 ชม. ไม่มียาใดที่ไม่มีผลแทรกซ้อน แต่การไม่รักษา มีผลเสียมากกว่า
ผล การรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนน้อยที่หยุดยาได้ แต่ต้องติดตามวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ลดอาหารเค็ม รับประทานยาสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) อย่าให้เป็นเ บาหวาน หรือ ไขมันสูง ควรมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เนื่องจากค่าใกล้เคียงกับความจริง มากกว่าวัดที่รพ. (white-coat effect) เลือกรักษาที่สะดวก อย่าเปลี่ยน แพทย์บ่อยๆ หากจำเป็นนำยาเดิมไปด้วยทุกครั้ง
     
หัวใจล้มเหลว สาเหตุ : โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจตีบรั่ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยา กระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว บางรายต้องรักษาตามสาเหตุด้วย เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

ลิ้นหัวใจตีบ / ลิ้นหัวใจรั่ว สาเหตุ : การติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูมาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา :  รักษา ตามอาการ ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น นอกจากนั้นแล้ว จำเป็นต้อง   ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในกรณีที่เป็นน้อยไม่ต้องการ การรักษา
ผล การรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากลิ้นหัวใจเสียมาก และไม่ผ่าตัดแก้ไข หรือ ผ่าตัดช้าไป การพยากรณ์โรคจะไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจเทียม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโอกาสติดเชื้อสูง เลือดออกง่าย ไม่ควรซื้อยาเองแม้แต่ยาหวัด หากทำฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดใดๆ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง สำหรับสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์ก่อนเช่นกัน
     
กล้ามเนื้อหัวใจพิการ สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดอาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที
     
เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก ลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่หายขาดขึ้นกับสาเหตุ   การพยากรณ์โรคขึ้นกับสาเหตุ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อาการเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส   อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้
     
โรคอ้วน สาเหตุ : อาหารให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน ขนมหวาน พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภค
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดน้ำหนัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ควบคุมอาหาร ลดมัน ลดหวาน งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายมากขึ้น
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ำหนัก
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ต้องตั้งใจจริง 
     
เบาหวาน กับ โรคหัวใจ สาเหตุ : เบาหวานทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั้งร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากเบาหวาน, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ด้วยการคุมอาหาร ยาลดน้ำตาล ยาฉีดเมื่อจำเป็น หากมีไขมันในเลือดสูงก็ต้องรักษาด้วย
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากมีผลแทรกซ้อน แล้ว การพยากรณ์โรคมักไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลียกเลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด (เงาะ ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น) ใช้นำตาลเทียมแทน ตรวจสุขภาพระบบอื่นๆด้วย เพราะเบาหวานมีผลต่อทุกระบบในร่างกาย

     
ไขมันในเลือดสูง สาเหตุ : บริโภคอาหารไขมันสูง พันธุกรรม โรคบางขนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากไขมัน หลอดเลือดสมอง หัวใจ ตีบ
หลักการรักษา : ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลควรน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 130 (น้อยกว่า 100 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ) โดยมากมักต้องใช้ยาช่วยจึงจะได้ระดับต่ำขนาดนี้
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : การรักษาเป็นการหวังผลระยะยาว แม้ว่าอาจไม่ได้ผลในการ ป้องกันโรคหัวใจกับทุกคน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงทุกประเภท ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมาก
การเลือกน้ำมันเพื่อบริโภค

ใจสั่น ใจเต้นแรง สาเหตุ : อาจเป็นปกติ อาจพบได้ในคนปกติ หรือ โรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้   หรือ เกิดจากหัวใจ เต้นผิดจังหวะ
จุดมุ่งหมายการรักษา :   ลดอาการ ป้องกันการเกิดอัมพาต (ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด)
หลักการรักษา : ควบคุมการเต้นหัวใจด้วยยา หากไม่ได้ผล หรือ อาการมาก อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลาย วงจรไฟฟ้าหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค :   ขึ้นกับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หัดจับชีพจรตัวเองเมื่อเวลาเกิดอาการ เพราะบางครั้งรู้สึกใจสั่น แต่ความจริงแล้วอัตราการเต้นปกติก็ได้
 
ขอบคุณ ข้อมูลจาก http://www.thaiheartweb.com/

รู้จัก...หัวใจ


 
       คุณ รู้จักหัวใจตัวเองดีพอหรือยัง และเคยใส่ใจหัวใจตัวเองบ้างหรือเปล่า ลองคิดดูสิว่าถ้าหัวใจอ่อนล้าหรืออ่อนแอ มันจะส่งผลต่อเรามากเพียงใด แล้วคุณจะยังไม่ใส่ใจหัวใจตัวเองได้อย่างไรกัน อย่างน้อยก็รู้จักที่จะถนอมหัวใจให้อยู่กับเราเอาไว้นาน ๆ

       “หัวใจ” ที่ว่านี้คือหัวใจของเราซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ไม่ได้หมายถึงหัวใจในด้านของความรู้สึกแต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่เป็นอวัยวะภายในที่สำคัญแต่มักถูกมองข้าม ปล่อยปละละเลยจนส่งผลให้ “โรคหัวใจ” เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ เลยทีเดียว เห็นไหมว่าทำไมเราถึงต้องรู้จักและใส่ใจหัวใจตัวเอง
หัวใจทำงานอย่างไร
       หัวใจของเราเริ่มเต้นเป็นจังหวะตั้งแต่เป็นทารก อยู่ในท้องของคุณแม่เราแล้ว ความพิเศษของหัวใจที่มีขนาดโตกว่ากำปั้นเล็กน้อย มีลิ้นหัวใจ 4 ลิ้น ทำหน้าที่ ปิดเปิดให้เลือดผ่านเข้าออกหัวใจไปในทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีการไหลย้อนกลับ และกล้ามเนื้อหัวใจสามารถปล่อยกระแสไฟฟ้าได้เอง โดยกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเริ่มจากหัวใจห้องขวาบน เรียกว่า Sinus Node แล้วกระจายออกไปตามเซลล์นำไฟฟ้าซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในหัวใจเรา เริ่มจากขวาไปซ้ายและลงล่าง เมื่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจถูกกระแสไฟฟ้าก็จะเกิดการหดตัวขึ้นทำให้เกิดการ บีบตัวของห้องหัวใจ ดังนั้น การบีบตัวของห้องหัวใจจึงเริ่มจากด้านขวามาด้านซ้ายและห้องบนก่อนห้องล่าง

       ในคนปกติขณะพัก หัวใจจะบีบตัวประมาณ 60-100 ครั้ง/นาที ในผู้ใหญ่ และประมาณ 80-100 ครั้ง/นาที ในเด็ก แต่ในขณะออกกำลังกายหัวใจจะบีบตัวเร็วขึ้น บางครั้งอาจถึง 150-180 ครั้ง/นาที คนที่เป็นนักกีฬาหัวใจอาจเต้นช้ากว่า 60 ครั้ง/นาที

       จะเห็นได้ว่า ระบบไฟฟ้าหัวใจมีประสิทธิภาพมากในการควบคุมวงจรการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ แต่ละห้องหัวใจสัมพันธ์กัน ดังนั้น ไม่ว่าระบบไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ลิ้นหัวใจผิดปกติ หรือกล้ามเนื้อหัวใจไม่บีบตัว ย่อมมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น
สัญญาณบอกอาการโรคหัวใจ
       "โรคหัวใจ" เป็นคำที่มีความหมายกว้างมาก โดยอาการที่เกิดจากโรคหัวใจหรือสัมพันธ์กับหัวใจมีไม่มากเท่าไหร่นัก ทว่าจะรู้ได้อย่างไรว่ามีลักษณะของอาการที่เป็นสัญญาณการเกิดโรคหัวใจ เรามาดูกันว่าถ้าเกิดอาการแบบไหนแล้วเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
       อาการเจ็บหน้าอก
       อวัยวะที่อยู่ในทรวงอกนอกจากหัวใจแล้ว ยังมี เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด เยื่อหุ้มปอด หลอดอาหาร หลอดเลือดแดงใหญ่ กระดูกหน้าอก กระดูกซี่โครง เต้านม กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก เมื่อมีการอักเสบของอวัยวะเหล่านี้อาจ ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกได้ แต่ลักษณะอาการนั้นแตกต่างกันไป

       อาการต่อไปนี้อาจเกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด
       1. เจ็บแน่น ๆ บริเวณกลางหน้าอก อาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้ง 2 ด้าน บางรายร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้ง 2 ข้าง อาจจุกแน่นที่คอหรือเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟันมักเกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็ว ขึ้นบันได หรือโกรธ อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดทำกิจกรรมดังกล่าว
       2. บางรายที่อาการรุนแรงอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง นอน หรือหลังอาหารก็ได้
       3. กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมากและมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม
       อาการต่อไปนี้ไม่ใช่อาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจขาดเลือด
        1. เจ็บแหลม ๆ คล้ายเข็มแทง เจ็บแปลบ ๆ จุดเดียวบริเวณหน้าอก อาจเกิดขึ้นในขณะนั่งพัก มีอาการนานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน มีอาการมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนท่า ขยับตัว หรือหายใจเข้าลึก ๆ อาจเจ็บร้าวขึ้นศีรษะ ปลายมือ-เท้า
        2. อาการตามข้อ 1. อาจเกิดจากกระดูก กล้ามเนื้อหน้าอก เยื่อหุ้มปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
        อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยโรคหัวใจขาดเลือด นอกจากอาการเจ็บหน้าอกแล้วต้องอาศัยประวัติอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนั้น ในผู้ป่วยบางรายที่อาการไม่เหมือนนัก แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายข้อก็ควรได้รับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมด้วย
       อาการหอบ เหนื่อยง่าย
       อาการหอบ เหนื่อยง่าย เวลาออกแรง เช่น เดิน วิ่ง ทำงาน อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ โรคโลหิตจาง โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอด โรคหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) หรือเกิดขึ้นเพราะความวิตกกังวลที่เรียกว่า โรคแพนิค ซึ่งทำให้เกิดอาการเหนื่อย หอบได้เช่นกัน อาการเหนื่อยง่ายที่เกิดจากโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลวนั้น จะมีอาการเหนื่อย หอบ หายใจเร็ว โดยมักเป็นเวลาออกแรง แต่ในรายที่เป็นรุนแรงจะเหนื่อยแม้ขณะพัก บางรายเหนื่อยมากจนนอนราบไม่ได้ ต้องนอนศีรษะสูงหรือนั่งหลับ
       โดยคำว่า เหนื่อย หอบ ในความหมายของแพทย์หมายถึง อัตราการหายใจมากกว่าปกติ แต่ในความหมายของผู้ป่วยอาจรวมไปถึงอาการเหนื่อยเพลีย หมดแรง เหนื่อยใจ โดยถ้าเป็นอาการเหนื่อยแบบหมดแรง มือเท้าเย็นหรือชา พูดก็เหนื่อย (โดยอัตราการหายใจปกติ) อาการเหล่านี้มักจะไม่ใช่อาการเหนื่อยจากโรคหัวใจ
       อาการใจสั่น
       อาการใจสั่นในความหมายแพทย์ หมายถึง การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือเต้นไม่สม่ำเสมอ พบได้ทั้งในคนปกติ โรคหัวใจ และโรคอื่น ๆ ที่มีผลต่อหัวใจ อาทิ ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคปอด ในการวินิจฉัยแพทย์จะ ซักประวัติถึงลักษณะของอาการใจสั่นที่เกิดขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยรู้สึกใจสั่นทั้ง ๆ ที่หัวใจเต้นปกติ
       การตรวจวินิจฉัยกลุ่มอาการใจสั่นเป็น เรื่องที่ทำ ได้ไม่ง่ายนัก เพราะผู้ป่วยมักมีอาการชั่วขณะ เมื่อไปพบ แพทย์อาการมักหาย ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ดังนั้น เราควรศึกษาวิธีจับชีพจรตัวเองเมื่อมีอาการใจสั่นนั้นหัวใจเต้นกี่ครั้งใน เวลา 1 นาที สม่ำเสมอหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้รวดเร็วขึ้น
       อาการขาบวม
       อาการขาบวมเกิดจากการที่ร่างกายมีเกลือและน้ำคั่งอยู่ในร่างกาย โดยอาจเกิดจากโรคไต โรคหลอดเลือดดำอุดตัน โรคตับ จากยาและฮอร์โมนบางชนิด โรคหัวใจ หรือในบางรายไม่พบสาเหตุ (Ldiopathic Edema) อาการบวมในผู้ป่วยโรคหัวใจเกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง ทำให้เลือดจากขาไม่สามารถไหลเวียนเข้าหัวใจด้านขวาได้สะดวกจึงมีเลือด ค้างอยู่ที่ขามากขึ้น โรคเยื่อ หุ้มหัวใจอักเสบเรื้อรังก็มีอาการนี้ได้เช่นกัน เมื่อมีอาการ ขาบวม แพทย์จำเป็นต้องตรวจหลายระบบเพื่อหาสาเหตุการเกิดอาการ จึงจะให้การรักษาได้ถูกต้อง
       อาการเป็นลมหรือวูบ
       คำว่า "วูบ" หมายถึง การหมดสติ หรือเกือบหมดสติชั่วขณะ โดยอาจรู้สึกหน้ามืด จะเป็นลม ตาลาย มองไม่เห็นภาพชัดเจน มีอาการอยู่ชั่วขณะ แต่ไม่รวมถึงอาการเวียนศีรษะ บ้านหมุน หายใจไม่ออก อาการดังกล่าวอาจเกิดจากความผิดปกติของสมอง อาทิ ลมชัก เลือดออกในสมอง ความผิดปกติของหัวใจ อาทิ หัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรงหรือหยุดเต้นชั่วขณะ หรือความผิดปกติ ของระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมหัวใจ นอกจากนั้น "อาการวูบ" ยังอาจพบได้ในคนปกติที่อยู่ในภาวะขาดน้ำ เสียเลือด ท้องเสีย ไม่สบาย ขาดการออกกำลังกาย หรือ เกิดจากยาลดความดันโลหิตได้อีกด้วย
การตรวจทางโรคหัวใจ
       สำหรับการตรวจทางโรคหัวใจต้องอาศัยประวัติ อาการอย่างละเอียด เพื่อดูว่าอาการดังกล่าวนี้เกิดจากโรคหัวใจแน่หรือไม่ เนื่องจากมีหลายโรคที่มีลักษณะอาการคล้ายกับโรคหัวใจ แพทย์อาจต้องซักประวัติโดยทั่ว ๆ ไปด้วย เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจรวมไปถึงประวัติการใช้ยาและการรักษา ต่างๆ โดยที่การตรวจทางโรคหัวใจ สามารถแบ่งได้ 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
       ส่วนที่ 1 การตรวจพื้นฐาน
       การตรวจร่างกาย เพื่อดูน้ำหนัก ส่วนสูง และอ้วนหรือไม่ การจับชีพจรหาอัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต ฟังเสียงหัวใจว่ามีเสียงผิดปกติไหม โดยที่แพทย์จะตรวจร่างกายในระบบอื่น ๆ ด้วย เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ และดูโรคอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมด้วยจากอาการที่ปรากฏ
       คลื่นไฟฟ้าหัวใจ จะบอกถึงจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกถึงโรคของเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย แต่ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะเห็นอาการผิดปกติก็ต่อเมื่อมีโรคหัวใจที่ รุนแรงแล้ว อาทิ หัวใจ ขาดเลือดรุนแรง กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น ดังนั้น จะต้องทำความเข้าใจด้วยว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติไม่ได้หมายความว่าไม่ได้ เป็นโรคหัวใจ
       เอกซเรย์ทรวงอกหรือเอกซเรย์ปอด จะทำให้เห็นถึงการกระจายของเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด หรือหัวใจล้มเหลว
       ตรวจเลือด เป็นการตรวจหาระดับสารต่าง ๆ ในเลือด ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรงแต่เป็น การดูเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจ อาทิ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ที่มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค  
       ส่วนที่ 2 การตรวจพิเศษทางโรคหัวใจ
       การตรวจในส่วนที่ 2 นี้ต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ใน การตรวจตามอาการที่ปรากฏในข้างต้น เพราะแพทย์จะได้วินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นอาการจากโรคหัวใจหรือไม่ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษา ได้แก่
       - การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)
       - การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test)
       - การทดสอบการเป็นลมด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test)
       - การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter หรือ Ambulatory ECG monitoring)
       - การสวนหัวใจและฉีด "สี" ดูหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization and Angiogram)
       - การตรวจระบบไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiologic Study)
       แต่อาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ ป่วยโรคหัวใจเท่านั้น ยังมีโรคอื่น ๆ ที่อาการคล้ายกัน แต่การวินิจฉัยแพทย์ต้องทำการซักอาการและประวัติโดยละเอียดร่วมกับการตรวจ ร่างกาย เพื่อแยกโรคต่าง ๆ ที่มีอาการคล้ายกัน
       ดังนั้น เมื่อเราทราบแล้วว่าหัวใจของเราทำงานอย่างไร และถ้าเรามีอาการที่ผิดปกติจะมีอัตราเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหัวใจหรือไม่ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ ทำให้เกิดอาการดังกล่าว เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที อย่างไรเสียเราเองก็ควรหมั่นใส่ใจดูแลสุขภาพร่างกาย อย่างสม่ำเสมอ เท่านี้ก็สามารถลดอัตราการเสี่ยงในการเกิดโรคได้อย่างดีเยี่ยมที่สุดแล้ว
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
สมาคมแพทย์โรคหัวใจ