Sunday, October 7, 2012

โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease ชื่อย่อ IHD)

Ischemic-heart-disease-0โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic heart disease ชื่อย่อ IHD)

โรคหัวใจขาดเลือด หรือ บางคนก็เรียกว่า โรคหัวใจโคโรนารี ปัจจุบันพบมากใน คนที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ลักษณะอาการเบื้องต้นคือ หลอดเลือดหัวใจแขนงใดแขนงหนึ่งมีการตีบตันทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางส่วนขาด เลือดไปเลี้ยงเกิดอาการเจ็บที่หน้าออกและอ่อนแรง ในระยะเริ่มต้นหลอดเลือดหัวใจจะมีอาการตีบตัวเพียงชั่วขณะกล้ามเนื้อหัวใจจะ ขาดเลือดไปเลี้ยงเพียงชั่วคราวจะเกิดเป็นอาการเจ็บปวดที่หน้าอกเพียง ประเดี๋ยวประด๋าวยังไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต แต่ถ้าเป็นถึงขั้นร้ายแรง หัวใจมีอาการอุดตันอย่างถาวร กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง เซลล์กล้าม เนื้อหัวใจก็จะตาย และทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกที่รุนแรง เกิดอาการที่เรียกว่า "หัวใจวาย" เป็นอันตรายถึงชีวิตภาวะแบบนี้เรียกว่าว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย

กลุ่มบุคคลที่เสียงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

โรคนี้เกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดหัวใจมีการแข็งตัวทำให้หลอดเลือดหัวใจ ค่อย ๆ ตีบลงจนถึงอุดตัน ผู้สูงอายุทุกคนมักมีภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเป็นความเสื่อมตามธรรมชาติ ผู้สูงอายุวันกลางคน (40-50 ปี) ก็อาจจะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดได้ ยิ่งถ้ามีประวัติสูบบุหรี่ด้วยแล้ว คนอ้วน คนที่เครียดง่าย ขาดการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอจะมีความเสี่ยงกว่าคนทั่วไป โรคหัวใจขาดเลือดนี้ถ้าเป็นแล้วมักจะมีอาการแบบเรื้อรังต้องเข้าพบแพทย์อยู่ เสมอ แต่ถ้าในรายที่เป็นน้อยการดูแลตัวเองก็อาจจะทำให้หายหรือทุเลาได้


โรคหัวใจขาดเลือด

โรคหัวใจขาดเลือด




แนวทางการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

  1. งดการสูบบุหรี่
  2. อย่าปล่อยให้ตัวเองอ้วน รักษาน้ำหนักและสุขภาพอยู่เสมอ
  3. ลดอาหารที่มีไขมันสูง กะทิ น้ำมันมะพร้าว น้ำตาล ของหวาน กินผลไม้ให้มาก ๆ
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  5. ลดภาวะความเครียดทางอารมณ์ ฝึกสมาธิเพื่อความผ่อนคลาย
  6. ตรวจเช็คร่างกายประจำปี ถ้าครอบครัวคนป่วยโรคนี้เพราะอาจจะมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์
  7. ผู้ป่วยที่เป็นโรคความดัน เบาหวาน เกาต์ ต้องรักษากับแพทย์อย่าได้ขาด เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดแทรกซ้อนเข้าไปอีก

ลักษณะของผู้มีอาการโรคหัวใจขาดเลือด

  1. มักพบมากในวัยกลางคนอายุ 30 ปีขึ้นไป
  2. ปวดที่ตำแหน่งยอดอก หรือ ลิ้นปี่ เจ็บตรงหน้าอกซีกซ้ายตำแหน่งหัวใจ
  3. มีลักษณะปวดแบบจุก ๆ เหมือนถูกบีบ หรือ ถูกของกดทับ และมีอาการปวดร้าวขึ้นไปถึงคอ ขากรรไกร หัวไหล่หรือต้นแขน ขณะมีอาการมักจะมีอาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรงร่วมด้วย
  4. ระยะเวลาปวดจะเกิดครั้งละ 2 - 3 นาที อย่างมากไม่เกิน 15 นาที นั่งพักสักครู่ก็จะหายได้เอง
  5. อาการเหล่านี้สามารถกระตุ้นได้จาก การทำงานหนัก ออกกำลังกายมากเกินไป การร่วมเพศ หรือ การมีอารมณ์โกรธ โมโห ตื่นเต้น ตกใจ หรือแม้แต่การกินข้าวอิ่ม หรือ หลังจากการอาบน้ำเย็น หรือ ถูกอากาศเย็นก็ได้

เมื่อไรควรไปพบแพทย์

ควรไปทันทีถ้ามีอาการเจ็บหน้าอกร่วมกับอาการข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
  1. มีอาการเป็นลม มือเท้าเย็น
  2. หอบเหนื่อย
  3. เจ็บหน้าอกรึนแรง

แพทย์จะรักษาอย่างไร

แพทย์มักจะตรวจลักษณะอาการและร่างกายอย่างละเอียดและแนะนำข้อปฏิบัติต่าง ๆ พร้อมทั้งจ่ายยาช่วยให้เลือดขยายตัว ซึ่งมีทั้งชนิดกินประจำและชนิดอมใต้ลิ้น โดยยาอมใต้ลิ้นนี้คนไข้ต้องพกติดตัวอยู่ตลอดเวลาใช้อมเมื่อมีอาการเจ็บหน้า อกกำเริบ ยานี้จะช่วยให้หายเจ็บหน้าอกได้ทันทีแต่มีผลข้างเคียงคือ อมแล้วจะมีอาการปวดศีรษะได้

วิธีการดูแลรักษาตนเองเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด

  1. กินยาและติดต่อรักษากับแพทย์เป็นประจำอย่าได้ขาด
  2. งดสูบบุหรี่เด็ดขาด
  3. ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักไม่ให้อ้วน
  4. ลดอาหารที่มีไขมัน
  5. ไม่ออกกำลังกายที่ใช้แรงและหักโหมมาก ๆ
  6. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการกำเริบของโรค เช่น การกินข้าวอิ่มเกินไป งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่ใส่กาเฟอีน ระวังอย่าให้ตื่นเต้นตกใจหรือมีเรื่องกระทบกระเทือนจิตใจและอย่าอาบน้ำเย็น หรือถูกอาการเย็นมาก ๆ


แหล่งที่มาก หมอชาวบ้าน

0 comments:

Post a Comment