Monday, April 15, 2013

7 วิธีป้องกันโรคหัวใจ

อาหารนอกบ้านมักจะมีปริมาณมากเกินเป็น 2 เท่าของอาหารสุขภาพ

Hiker
โรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ของโรงพยาบาลพลานเทชั่น เจเนอรัล (www.myhealthpublisher.com) ได้รวบรวมคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจอเมริกา และสมาคมแพทย์สตรีอเมริกาในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
คำแนะนำนี้นอกจากจะช่วยป้องกันโรคห้วใจ-เส้นเลือดแล้ว ยังมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก(ลดความอ้วน) และส่งเสริมสุขภาพทั่วไปอีกด้วย
    คำแนะนำ:     

  1. ลดไขมันสัตว์                                                                           
    ไขมันสัตว์มีไขมันอิ่มตัวสูง ถ้ากินเนื้อสัตว์ให้เลือกกินเฉพาะเนื้อไม่ติดมัน (lean meat) ไม่กินมันสัตว์ สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ จะมีไขมันมาในส่วนหนัง ควรเอาหนังออกก่อนกิน (poultry without skin)

  2. ลดไข่แดง                                                                              
    ไข่แดงเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง รสชาติดี แต่มีโคเลสเตอรอลสูง ส่วนไข่ขาวมีโปรตีนสูง และไม่มีโคเลสเตอรอลเลย

    ถ้าต้องการทำอาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ไข่เจียว ฯลฯ ให้ลดสัดส่วนไข่แดงลง เช่น ผสมไข่แดง 1 ฟองกับไข่ขาว 2-3 ฟอง แทนการใช้ไข่ทั้งฟอง 2 ฟอง ฯลฯ

  3. ผัดสเปรย์                                                                              
    ถ้าชอบอาหารผัดให้ลองนำน้ำมันใส่ในขวดสเปรย์ (cooking spray) ฉีดน้ำมันลงบนกะทะเทฟลอน วิธีนี้จะทำอาหารผัดไขมันต่ำได้

  4. กินพืชผัก                                                                               
    กินพืชผักหลัก 4 กลุ่มได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่ว ผัก และผลไม้เป็นอาหารจานหลัก (main dish) ลดการกินเนื้อลง และควรใส่ในจานขนาดเล็ก (side dish)

    ควรพยายามกินโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนถั่วเหลือง เต้าหู้ ฯลฯ ถ้าไปกินอาหารนอกบ้านควรสั่งผักต้มหรือผักลวกมาเสริม

  5. กินนมไขมันต่ำ                                                                          
    ให้กินนมที่ไม่มีไขมัน (nonfat milk) หรือนมไขมันต่ำ (low fat milk) แทนการกินนมเต็มส่วน (whole milk) เนื่องจากนมเต็มส่วนมีไขมัน และโคเลสเตอรอลค่อนข้างสูง

    ถ้ากินเนยเทียม...ให้เลือกชนิดไขมันต่ำ และเกลือต่ำ โดยดูจากฉลากอาหาร (food label) ที่ผลิตภัณฑ์

  6. กินปลา                                                                                  
    กินปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะปลาทูน่า และปลาแซลมอน ซึ่งเป็นปลาที่มีไขมันชนิดดีมาก (โอเมก้า-3) สูง และมีระดับสารพิษ(ปรอท)ซึ่งพบในปลาทะเลค่อนข้างต่ำ

  7. กินนอกบ้านน้อยหน่อย                                                      
    อาหารนอกบ้านมักจะมีปริมาณมากเกินเป็น 2 เท่าของอาหารสุขภาพ จึงควรกินประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณที่จำหน่าย

    การทำกับข้าวกินเอง โดยเฉพาะอาหารสุขภาพที่หวาน-เค็ม-มันน้อยหน่อย ผัก-ถั่ว-งา-เห็ดมากหน่อยมีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้

0 comments:

Post a Comment