แม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทั้งชายและหญิง
แต่โรคหัวใจเป็นโรคที่ป้องกันได้ของเพียงเราไม่ประมาท
ให้เรารู้เท่าทันโรคก็จะป้องกันโรคนี้ได้
การป้องกันโรคหัวใจจะเริ่มเมื่อใด
ผู้คนทั่วไปมักจะละเลยการป้องกันโรค
รู้อีกทีก็เป็นโรคไปแล้วจะเรียกว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาก็ได้
การป้องกันควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเพราะว่าหากเริ่มช้า
การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
ได้มีการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว
เพราะฉนั้นหากเราเริ่มตอนกลางคนผลการควบคุมอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร
ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้เริ่มทำตั้งแต่วัยรุ่น
บางท่านผ่านวัยรุ่นมาแล้วก็ให้ทำทันที
การป้องกันโรคหัวใจควรทำอย่างไร

การป้องกันโรคหัวใจมีหลักง่ายๆสองข้อคือ
- เรียนเรื่องความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
- การจัดการกับความเสี่ยงนั้น
ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจมีสองประเภทคือ
ประเภทที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
- อายุ
- เพศ
- เชื้อชาติ
- กรรมพันธ์
- หญิงวัยทอง
ประเภทที่เปลี่ยนแปลงได้ได้แก่
- การสูบบุหรี่
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน
- ไขมันในเลือด
- โรคอ้วน
- การขาดการออกกำลังกาย
- ความเครียด
- การใช้ยา cocain
- หญิงที่ทานยาคุมกำเนิด และสูบบุหรี่
- ความเครียด
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะทำการป้องกันทันที หากยังใช้ชีวิตอย่างประมาทก็อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้
เราจะป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร
1การหยุดสูบบุหรี่
หากท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที
หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้
หารหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี
การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ
หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่
ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
เหมือนคนที่สูบบุหรี่เรื่องว่าเป็นผลจากการสูบบุหรี่มือสอง
- บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4800 ชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย
- บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
- ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิด จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
ข่าวดีสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ หากท่านหยุดสูบบุหรี่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยประมาณว่าจะเหมือนคนปกติใน 1 ปี
- อ่านเรื่องบุหรี่ที่นี่
- อ่านเรื่องหลอดเลือดแดงตีบที่นี่
2การออกกำลังกาย

ทุก
ท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี
แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้1ใน4
หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่น
จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นผลดีของการออกกำลังกาย
- ทำให้หัวใจแข็งแรง
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น
- ลดระดับความดันโลหิต
- ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด
แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5
วันหากไม่สามารถออกกำลังดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการ
ทำงานบ้านเพิ่ม เช่นการทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด
การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟท์ อ่านรายละเอียด
- การออกกำลังกาย
- การออกกำลังเพื่อปอดและหัวใจ
- การออกกำลังกายสำหรับความดันโลหิตสูง
3การรับประทานอาหารสุขภาพ

การ
รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับป้องกันโรคหัวใจ
จะเป็นอาหารที่ป้องกันโรคที่เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน
โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งปริมาณอาหารก็ไม่ควรจะเกิน
- หลีกเลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น
ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ,Tran_fatty acid ได้แก่ น้ำมันปามล์
น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด ฟิสซ่า
กล้วยแขก เนย มาการีน
- ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน
- รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3-fatty acid
- อ่านเรื่องที่น่าสนใจ
- อาหารที่ป้องกันโรคหัวใจ
- อาหารสุขภาพดี
- ถั่ว
- ไขมัน
4การรักษาน้ำหนัก

สาเหตุ
ของโรคอ้วนมีด้วยกันสองสาเหตุได้ สาเหตุทางกรรมพันธ์ และสาเหตุทางพฤติกรรม
ทางกรรมพันธ์คงจะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้
แต่ทางพฤติกรรมจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วนร้อยละ 70
ดังนั้นหากมีการปรับพฤติกรรมก็จะสามารถลดน้ำหนักได้ คนอ้วนจะทำให้เกิดโรค
ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ
ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25
นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90,80 ซม
ในชายและหญิงถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรค อ่าน
- โรคอ้วน
- ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว
- กลุ่มโรค Metabolic Syndrome
5การตรวจสุขภาพ

การ
ตรวจสุขภาพหมายถึงการที่ท่านจะต้องพิจารณาว่า
ท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือไม่ เช่น การพักผ่อน ความเครียด
การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือไม่
หากท่านพบว่าท่านมีความเสี่ยงข้อใด ท่านจะต้องปรับปรุงพฤติกรรม
สำหรับบางท่านการตรวจร่างกายโดยการเจาะเลือด
และแพทย์ตรวจก็มีความจำเป็นเนื่องจากบางโรคไม่มีอาการ
เช่นความดันโลหิตที่เริ่มเป็น ไขมันในเลือดสูง เบาหวานที่เริ่มเป็น
ท่านที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อ้วน
หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี
โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ
- ความดันโลหิต
- ระดับไขมันในเลือด
- ระดับน้ำตาล
- การตรวจหัวใจในกรณีที่มีความเสี่ยงมาก
เป็นการตรวจประจำปี
0 comments:
Post a Comment