Monday, April 15, 2013

บุหรี่ ทำให้เป็นโรคหัวใจ และ ไอ้หนูไม่สู้

บุหรี่ ทำให้เป็นโรคหัวใจ และ ไอ้หนูไม่สู้

โรคหัวใจ เลิกบุหรี่

                 ผู้ติดบุหรี่ หลายคน เข้าใจ เพียงว่า บุหรี่ ทำให้เกิดโรคปอด และ โรคมะเร็ง จริงๆ แล้ว บุหรี่ ทำให้เกิด โรคอื่นๆ อีก มากมาย ที่ สำคัญ คือ บุหรี่ ทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย และ หัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจ เหล่านี้ อันตราย ถึงตาย และ ทำให้ คนติดบุหรี่ เกิดความพิการ และมี คุณภาพชีวิต ที่เลวลงมาก

              ผู้ป่วยบางคนจะมีอาการ เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย หรือ หลายคน จะมี อาการ บวมน้ำ แบบว่า พอเป็น โรคหัวใจแล้ว จะทำให้ไม่มีแรง ได้แต่ นอนเฉยๆ และ มีอาการ เจ็บแน่นหน้าอีกอีกด้วย ซึ่งทรมานมาก เมื่อหัวใจมีปัญหา จะทำให้ไม่มีแรง ไม่สามารถ ออกกำลังกายหนักๆได้ หากเป็นมาก จะเกิด ภาวะหัวใจวาย ทำให้ เลือดคั่ง ที่ขา เท้าบวม หอบเหนื่อย และ นอนราบไม่ได้ โดย อาการเตือน ของโรคหัวใจมีดังนี้

1 เจ็บแน่นหน้าอก

2 เหนื่อยง่าย

3 เหงื่อออกมาก

4 เท้าทั้งสองข้างบวม

5 นอนราบไม่ได้

     นอกจากนี้ บุหรี่ ทำให้นกเขาไม่ขัน หรือ องคชาติไม่แข็งตัว อีกด้วย เมื่อ สมรรถภาพทางเพศเสื่อม ชีวิต sex ก็ล้มเหลว ทำให้สูญเสีย ความเชื่อมั่น เหมือน ชีวิต ขาดอะไรบางอย่าง  มีปัญหา ครอบครัว ตามมาได้มาก  ครับ น่ากลัวมาก รักชีวิต รักสนุก เลิกบุหรี่ วันนี้เถอะ ครับ

เลิกบุหรี่

10 อาการ ที่มากับ การเลิกบุหรี่ ใน 3 เดือนแรก

เลิกบุหรี่

  ในการเลิกบุหรี่ ในตอนแรก ผู้ที่เคยสูบบุหรี่ มักจะมีอาการทรมาน ใน ช่วงแรกของการเลิกบุหรี่ ท่านสามารถทำความเข้าใจมัน และเตรียมรับมือได้อย่างเหมาะสม  โดยอาการช่วงแรกของ การเลิกบุหรี่มี  ดังนี้

1 ไอ  ในช่วงแรกของการเลิกบุหรี่ จะมีเสมหะมาก และไอมากขึ้น เพราะ ปอดกำลังขับสารพิษ ออกมาทางเสมหะ ไม่ต้องตกใจ อาการไอ จะหายไปภายใน 20 วัน

2 เวียนหัว ช่วง 3 วันแรก ร่างกายไม่ได้ควันบุหรี่ เลือดจะได้รับ อ็อกซิเจนเพิ่มขึ้นร่างกายยังไม่เคยชินกับปริมาณ  อ็อกซิเจน ที่มีมากกว่าเดิม ไม่นาน อาการเวียนหัวจะหายไปเอง

3 การรับ รสชาด เปลี่ยนไป การรับรส และ กลิ่น จะดีขึ้น อาหารอร่อยขึ้น จมูกไวขึ้น ทำให้กิน ข้าวอร่อย และ เลิกชอบอาหารบางชนิด เพราะ กลิ่นรสที่เปลี่ยนไป

4 การจำแนกกลิ่นดีขึ้น  เมื่อเลิกบุหรี่ จมูกจะโล่ง  หายใจได้ดีขึ้นรับกลิ่นได้ไวขึ้น

5 เสมหะมากขึ้น ร่างกาย จะขับ สิ่งแปลกปลอม ออกมามาก ใน 3 วันแรก โดยเสมหะจะมากขึ้น แต่มัีกไม่เหนียวข้น ทางแก้  ให้ดื่มน้ำมากๆ แล้วจะดีขึ้น

6 ซึมเศร้า บุหรี่ มีฤทธิ์ กระตุ้นประสาท ใ้ห้ ตื่นตัว ผู้ป่วย หลายคนมักมีภาวะซึมเศร้าตามมา ทางแก้ให้ ไปออกกำลังกาย และอาจใช้ ยาต้านซึมเศร้า แก้ไขอาการได้

7 นอนไม่หลับ อาการมักพบ ใน 7 วันแรกของการเลิกบุหรี่ ผู้ป่วยจะนอนไม่หลับ ทางแก้คือ ให้ ไปออกกำลังกาย และอาจใช้ ยาต้านซึมเศร้า แก้ไขอาการนอนไม่หลับได้

8 ท้องผูก คนไข้บางคนต้องสูบบุหรี่ ก่อนจึงจะถ่ายได้สะดวก ทางแก้คือ ใช้ยาระบายแมกนีเซีย และ รับปรัทานผักผลไม้ให้มากขึ้น

9 กินจุขึ้น เมื่อเลิกบุหรี่ แล้วมักกินเก่งขึ้น หิวมากขึ้น อาจส่งผลทำให้ความอ้วนตามมาได้ วิธีแก้คือให้ไปออกกำลังกาย และกินผัก อาหารพลังต่ำ มากๆแล้วจะไม่อ้วน

10 ปวดหัว เมื่อปวดหัวให้นอนพัก แล้วรับประทานยาแก้ปวดหัว พาราเซตามอลสัก 2 เม็ด ฝึกการหายใจเข้าออกลึกก็ช่วยบรรเทา  อาการปวดหัวได้ดี

โรคหัวใจและหลอดเลือด คร่าคนไทยชั่วโมงละ 4 คน



          สธ.เผย คนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นอันดับ 1 ของโลก กว่า 17.5 ล้านคน มากที่สุดในโลก ขณะที่คนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ชั่วโมงละ 4 คน จำนวนผู้ป่วยพุ่งขึ้นถึง 3 เท่าในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา

          นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์ผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ในงานวันหัวใจโลก ปี 2553 ว่า คนทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด กว่า 17.5 ล้านคน ซึ่งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของทั่วโลก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่า ในปี 2558 จะมีผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากโรคนี้ถึง 20 ล้านคน

          ขณะที่ประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ติดอันดับ 1 ถึง 3 สาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยมาโดยตลอด และสำหรับปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ 35,050 ราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 4 คน ซ้ำในรอบสิบปีที่ผ่านมา ยังมีผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า

          ทั้งนี้ กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจขาดเลือด  โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเกิดจากวิถีชีวิตที่ขาดความสมดุล สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการมีสุขภาพดี รวมทั้งขาดการใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเอง ไม่ป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ไม่ออกกำลังกาย เครียด บริโภคอาหารไม่ถูกสัดส่วน สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคอ้วน ฯลฯ

          รม ช.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า ร้อยละ 80 ของโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถป้องกันได้โดยปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน โดยลดปัจจัยเสี่ยง และใส่ใจ 3 อ. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ และบอกลา 2 ส. คือ ไม่สูบบุหรี่ และลดดื่มสุรา

          ด้าน นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีการดำเนินโรคที่ใช้เวลานาน จึงจะแสดงอาการให้เห็น ทำให้ผู้เป็นโรคระยะเริ่มแรกไม่ทราบว่าเป็นโรค และไม่ดูแลสุขภาพตนเอง ดัง นั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ตรวจสุขภาพปีละครั้ง เพื่อจะได้ทราบว่า มีความเสี่ยงใดต่อสุขภาพ เช่น น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง หรือไม่ เพื่อจะได้รีบดูแลสุขภาพตัวเอง

โรคหัวใจสามารถป้องกันได้ และวิธีรักษาโรคหัวใจ

โรคหัวใจสามารถป้องกันได้ และวิธีรักษาโรคหัวใจ

การตีบหรืออุดตันในหลอดเลือดแดง ส่งผลให้เกิดภาวะที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะวิกฤติ ซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมา แต่ในปัจจุบันสามารถตรวจสุขภาพเพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
เริ่มจาก การตรวจสุขภาพ ซึ่งแพทย์นำข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์ดูว่ามีความผิดปกติ และรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ตีบได้เพราะโรคหัวใจ รู้เร็ว ป้องกันและรักษาได้
ลิ้นหัวใจผิดปกติ ตีบรั่ว และวิธีการรักษา
ลิ้นหัวใจ เป็นส่วนหนึ่งของหัวใจ ทำหน้าที่คล้ายประตู ปิด-เปิด ระหว่างห้องหัวใจตลอดเวลาตั้งแต่เกิด ภาวะลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ร่างกายอาจจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่อาการจะปรากฏเมื่อหัวใจไม่สามารถรับปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นต่อไป จึงเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น หอบเหนื่อย ขาบวม ใจเต้นเร็ว เป็นต้น ในปัจจุบันการตรวจพิเศษที่ช่วยในการวินิจฉัย โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ รวมทั้งสามารถบอกความรุนแรงและลักษณะของลิ้นหัวใจได้ดีที่สุด คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echocardiography เรียกสั้นๆ ว่า Echo ซึ่งก็คือ Ultrasound ของหัวใจนั่นเอง เป็นการตรวจสภาพการทำงานของกล้ามเนื้อรวมถึงลิ้นหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจ
ในปัจจุบันนี้มีด้วยกันหลายวิธี โดยส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 วิธี คือ
1. การรับประทานยา ยารักษาโรคหัวใจ เป็นยาที่จำเป็นในผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยา เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะปรับขนาดยาให้เหลือน้อยเพื่อควบคุมอาการ ดังนั้นเมื่อรับประทานยาแล้วมีอาการดีขึ้นก็ไม่ควรหยุดยาเองยกเว้นถ้ามี ปัญหาจากยาให้หยุดและไปพบแพทย์
2. การทำบอลลูนและใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ Percutaneous Transluminal Coronary Angiography (PTCA) and Coronary Stent เป็นการขยายหลอด เลือดหัวใจด้วยบอลลูนและ/หรือใส่ขดลวดในผู้ป่วยที่มีการตีบของหลอดเลือด หัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก เป็นวิธีการล่าสุดและเห็นผลการรักษาที่ชัดเจน ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของแพทย์ รวมทั้งแพทย์ที่ความเชี่ยวชาญ
3. การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Bypass Surgery เป็นการรักษาเพื่อ ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบอย่างมากหลายเส้น นอกจากนั้นยังมีการผ่าตัดหัวใจประเภทอื่นๆ อีก เช่น การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ตีบ การผ่าตัดซ่อมแซมเส้นเลือดโป่งพอง การเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการผ่าตัดหัวใจในเด็กที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด
การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
วิธีง่ายๆ คือ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ให้ดี ควบคุมโรคเดิมที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักที่เกิน ลดความเครียด ทำง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจได้ เพราะโรคหัวใจรักษาได้ แต่อาจกลับมาเป็นใหม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องดูแลตัวเอง และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ไม่ว่าคุณ จะอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ทั้งสิ้น เนื่องจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่มักไม่เอาใจใส่และห่วงใยดูแลสุขภาพกัน เท่าที่ควร โรคหัวใจจึงไม่ได้หมายถึงโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ดังนั้น จึงควรใส่ใจสุขภาพ จำง่ายๆปฏิบัติการ 4 อ.
1.อาหาร ให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสม
2.อากาศ ให้บริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ งดสูบบุหรี่ 
3.อารมณ์ ให้แจ่มใส ลดความเครียด
4.ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
 เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ
ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก

โรคหัวใจ ป้องกันได้แค่...รู้เท่าทัน

โรคหัวใจ ป้องกันได้แค่...รู้เท่าทัน
heart-
โรคหัวใจ ป้องกันได้แค่...รู้เท่าทัน
  "การผัดวันประกันพรุ่ง" ไม่เคยส่งผลดีให้กับใคร โดยเฉพาะการดูแลและรักษาสุขภาพ เพราะหากรู้ตัวช้า สุขภาพจะยิ่งแย่ และอาการป่วยจะรุนแรงมากขึ้น เราจึงมักหาข้ออ้างมาสนับสนุนการผัดวันประกันพรุ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วข้ออ้างเหล่านั้นไม่สามารถนำมาต่อรองกับสุขภาพ โดยเฉพาะ "การทำงานของหัวใจ" ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่สุดในร่างกาย เพราะต้องทำงานตลอด 365 วันโดยไม่มีการหยุดพัก เพื่อทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้หมุนเวียนทั่วร่างกายอย่างต่อเนื่อง
          "หัวใจ" นับว่าเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักมากที่สุด แต่กลับได้รับการดูแลและใส่ใจน้อยที่สุด โดยยืนยันได้จากอัตราผู้เสียชีวิตจาก "โรคหัวใจ" ที่พุ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก เฉลี่ยปีละกว่า 17.5 ล้านคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นโรคที่มีค่าเฉลี่ยของกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับอายุน้อยลงเรื่อย ๆ โดยสามารถพบได้จากรายงานการเสียชีวิตของคนอเมริกันกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้เสียชีวิตที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น ก็เริ่มมีอาการของโรคหัวใจตั้งแต่อายุ 15 ปี เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาก็อาจสายเกินไป จึงทำให้โรคหัวใจถูกขนานนามว่าเป็น "เพชฌฆาตเงียบ" อย่างไม่มีข้อสงสัย
          โดย ดร. ลุยส์ อิกนาร์โร กรรมการที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์และโภชนากร เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด เผยว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คือ "การใช้ชีวิตอยู่บนความเสี่ยง และละเลยการดูแลสุขภาพเท่าที่ควร" โดยเฉพาะการพักผ่อนไม่เพียงพอ การไม่ค่อยสนใจออกกำลังกาย เผชิญกับความเครียดไม่เลือกเวลาและสถานที่ และที่สำคัญคือ การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งทางการแพทย์พบว่า หากเราดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจมาเคาะประตูร้องเรียกอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยยืดชีวิตของคนเราได้มากกว่าการรักษาโรคถึง 4 เท่า โดยมีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้
อาหาร
ไขมันสูง…เสี่ยงสารพัดโรค แต่ถ้าเป็นไขมันดี… ยิ่งสูงยิ่งดี
          ด้วยการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพชีวิตที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด การันตีได้จากอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อ ล้วนแต่เน้นที่ความรวดเร็วและกินง่ายไว้ก่อน เราจึงเห็นร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเปิดใหม่อยู่แทบทุกมุมถนน ซึ่งผลพลอยได้จากการบริโภคอาหาร (ขยะ) จานด่วนเหล่านี้ คือ ร่างกายต้องเผชิญกับภาวะคอเลสเตอรอลสูง อันเนื่องมาจากไขมันไม่อิ่มตัว
          จริงอยู่ที่ "ไขมัน" เป็นสิ่งจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญภายในร่างกาย แต่ปัญหาที่พบ คือ เรามีไขมันตัวร้ายในร่างกายมากเกินไป จึงทำให้หลอดเลือดอุดตันและกลายเป็นปัญหาต่อระบบไหลเวียนเลือดตามมา วิธีป้องกันที่ถูกต้อง คือ เราต้องเลือกบริโภคไขมันดี ซึ่งประกอบด้วย "กรดไขมันโอเมก้า 3" ที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งพบมากในปลาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีโอเมก้า 3 เป็นส่วนผสมหลัก ทำหน้าที่กักเก็บไขมันอิ่มตัวเพื่อนำไปกำจัดทิ้งที่ตับ ทำให้ระบบหลอดเลือดไม่เกิดการอุดตันจากคอเลสเตอรอล โดยเราสามารถบริโภคเนื้อปลาได้ในทุกมื้ออาหารและทุกวัน ยิ่งมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในร่างกายมากเท่าไร ยิ่งแสดงให้เห็นว่า เราอยู่ห่างไกลจากโรคหัวใจมากเท่านั้น
นอนหลับ
นอน…นอน…และนอน…รางวัลที่ดีที่สุด…ที่ร่างกายคุณต้องการ
          โดยปกติแล้ว คนเราจะใช้เวลาในการนอนถึง 1 ใน 3 ส่วนของอายุขัย เพราะการนอนถือเป็นการพักผ่อนกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาตลอดวัน และเป็นช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายมากที่สุด อีกทั้งยังเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ เริ่มปฏิบัติการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งจำนวนชั่วโมงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการนอน คือ ประมาณ 7 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้าร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออดนอนเป็นเวลานาน ร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดให้เพิ่มแรง สูบฉีดโลหิตไปทั่วร่างกายมากกว่าเดิม จึงทำให้อวัยวะทั้ง 2 ส่วนซึ่งจากเดิมที่ไม่เคยหยุดพักอยู่แล้วต้องทำงานหนักมากขึ้นกว่าปกติ ส่งผลให้ร่างกายมีความเสี่ยงที่จะเป็น "โรคความดันสูง" และ "โรคหัวใจ" มากขึ้น
ความเครียด
"ความดันโลหิต – ความเครียด" ยิ่งสูง… ก็ยิ่งหนาว…!!!
          "ความดันโลหิตและความเครียด" เป็นความผิดปกติของร่างกายที่สอดคล้องกันอย่างแยกไม่ออก เพราะอาการทั้ง 2 นั้นเปรียบเสมือน "ระเบิดเวลาที่ถูกดึงสลักออก" และเตรียมนับถอยหลังไปสู่โรคหัวใจได้ตลอดเวลา เมื่อเราเผชิญกับความเครียด หัวใจจะทำงานหนักเพราะเต้นเร็ว และเกิดการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในจังหวะที่ผิดไปจากเดิม ส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงโดยอัตโนมัติ และถ้าร่างกายอยู่ในภาวะเช่นนั้นเป็นเวลานาน จะทำให้หัวใจโตและเกิดผลเสียต่อเส้นเลือด ทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นและส่งผลให้หลอดเลือดแข็งตัวในที่สุด คล้ายกับเวลาที่เราใช้แขนข้างขวามากและบ่อยกว่าข้างซ้าย กล้ามเนื้อแขนข้างนั้นก็จะโตกว่า พร้อม ๆ กับเกิดการเสื่อมของเอ็น ข้อ และกระดูกของแขนข้างนั้นมากกว่าอีกข้างหนึ่งตามไปด้วย
          ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ระเบิดเวลาทำงาน เราจึงควรหลีกเลี่ยงการตกอยู่ในภาวะความเครียด ไม่ว่าจะเป็นช่วงสั้นๆ หรือเป็นเวลานาน ควรทำจิตใจให้ผ่องใส และผ่อนคลายด้วยการทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ เพื่อควบคุมอารมณ์และความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ออกกำลังกาย
ออกกำลังกาย…"อัพจังหวะ..หัวใจให้เต้นตึ๊กตั๊กสม่ำเสมอ"
          "It’s never too late to exercise – ไม่มีคำว่าสายเกินไปที่จะเริ่มต้นออกกำลังกาย" เพราะการออกกำลังกายเป็นกุญแจสำคัญที่ไขไปสู่การมีสุขภาพดี แต่คนส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันกลับมีพฤติกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ มากขึ้น เนื่องจากความสะดวกสบายที่เกิดจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
          แต่แท้ที่จริงแล้ว "ความสบาย" ที่เกิดขึ้นกลับกระตุ้นความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า เนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ออกแรงอย่างเต็มที่ในการสูบฉีดโลหิต จึงเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ เราจึงต้องหาวิธีออกกำลังที่กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ด้วยการออกกำลังแบบแอโรบิกที่ทำให้ทางการได้ออกกำลังเกือบทุกส่วน เช่น การว่ายน้ำ จ็อกกิ้ง ปั่นจักรยาน โดยทำอย่างน้อยวันละ 30 นาทีอย่างสม่ำเสมอ
          จะเห็นว่า วิธีป้องกันเพื่อรู้เท่าทัน และกำชัยชนะต่อ "เพชฌฆาตเงียบอย่างโรคหัวใจ" นั้น เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อน ทำได้ง่าย และไม่ต้องรอเวลา เราสามารถทำได้ตั้งแต่วินาทีนี้ โดยเริ่มจากปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เน้นลดปัจจัยเสี่ยงและใส่ใจ "3 อ. – อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์" แล้วคุณจะพบว่าไม่ใช่แค่ห่างไกลจากโรคหัวใจเท่านั้น โรคอื่น ๆ ก็ไม่สามารถจะทลายกำแพงสุขภาพที่แข็งแกร่งของคุณเข้ามาได้ ขอเพียงอย่าแค่มุ่งมั่น แต่ต้องลงมือทำตั้งแต่เดี๋ยวนี้เท่านั้น

อาหารเพื่อสุขภาพ กับ 10 วิธี ป้องกัน โรคหัวใจ


ว่า กันว่าเมื่อใดที่ดอกรักบานในใจ เป็นช่วงที่สารเอ็นโดรฟินส์จะแผ่ซ่านไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ สาว ๆ หนุ่ม ๆ คนไหนที่ถูกคนรอบข้างทักว่า ทำไมดูหน้าใส เปล่งปลั่ง ดูอ่อนกว่าวัย อาจจะถูกเดาได้ว่ากำลังมีความรักอยู่หรือเปล่า แต่ไม่ใช่แค่ช่วงอินเลิฟเท่านั้น..

 ว่ากันว่าเมื่อใดที่ดอกรักบานในใจ เป็นช่วงที่สารเอ็นโดรฟินส์จะแผ่ซ่านไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ มากเป็นพิเศษ สาว ๆ หนุ่ม ๆ คนไหนที่ถูกคนรอบข้างทักว่า ทำไมดูหน้าใส เปล่งปลั่ง ดูอ่อนกว่าวัย อาจจะถูกเดาได้ว่ากำลังมีความรักอยู่หรือเปล่า แต่ไม่ใช่แค่ช่วงอินเลิฟเท่านั้น..

      ที่คุณจะหันกลับมาดูแลตัวเอง ฉบับนี้ Health Plus ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นพ.วิชัย เดชะทัตตานนท์ ผู้อำนวยการส่วนสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกล้วยน้ำไท 1 คุณหมอเลยถือโอกาสฝากเคล็ดลับบำรุงหัวใจด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะกำลัง In love หรือ Unlove อยู่ ก็เปล่งประกายย้อนวัยได้เหมือนกัน
สุดยอดอาหารบำรุง...ใจ
         
         มะเขือเทศ ในมะเขือเทศมีสารไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารสีแดงในกลุ่มแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่มีสรรพคุณต่อต้านอนุมูลอิสระ และช่วยในการป้องกันการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกาย ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจน้อยลงด้วย เป็นผักที่มีสารไลโคปีนสูงกว่าในแตงโม (สีแดง) 2 เท่า ปลาทะเลน้ำลึก กรดโอเมก้า 3 ในน้ำมันปลา มีคุณสมบัติช่วยลดการจับตัวของเกล็ดเลือดและสร้างสารที่ทำให้เส้นเลือดขยาย ตัวได้ดี ป้องกันการสะสมของไขมัน จึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ จากการศึกษาวิจัยพบว่ากรดไขมันโอเมก้า -3 พบได้ในสัตว์น้ำทุกชนิดและมีปริมาณสูงกว่าในสัตว์บกและสัตว์ปีก แต่เนื่องจากอาหารทะเลส่วนใหญ่ เช่น กุ้ง หอยนางรมปลาหมึก มีคอเลสเตอรอลสูง ดังนั้นจึงควรเน้นการทานเนื้อประเภทปลาทั้งปลาน้ำจืดและปลาทะเล (ปลาน้ำจืดมีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 3 ไม่น้อยกว่าปลาทะเล)
สุดยอดอาหารทำลาย...ใจ
        
          อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น เครื่องในสัตว์ กุ้ง ไข่แดง เนย อาหารทะเลอย่าง ปลาหมึก หอยนางรม ฯลฯ เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเพิ่มคอเลสเตอรอลตามผนัง เส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น ด้านการปรุงอาหาร แม้ว่าจะเลือกทานผักผลไม้สด แต่ใช้วิธีปรุงที่มีน้ำมันในปริมาณมาก เช่น น้ำมัน ปาล์ม ในการผัด ทอด หรือมีการใช้เนย นมขนมเค้กผลไม้ ก็เสี่ยงกับภาวะคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดสูงเช่นเดียวกัน
ทำตามใจด้วยตัวเองบ้าง         
          ไลฟ์สไตล์ที่คุณชื่นชอบแต่ละอย่างหรืองานอดิเรกใดๆ ก็ตามที่ทำแล้วผ่อนคลายไม่รู้สึกว่า กำลังทำงานอยู่ช่วยให้สมาธิดีขึ้นและมีความสุขขณะที่กำลังทำ ซึ่งไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นเรื่องที่จะต้องทำเหมือนกัน สารเอ็นโดรฟินส์ (Endorphin) หรือที่เราทราบกันดีว่า เป็นสารแห่งความสุขสารนี้เมื่อหลั่งออกมาจะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด รู้สึกสดชื่นขึ้น เช่น จัดสวน ฟังเพลง ถักนิดดิ้ง ฯลฯ ช่วยทำให้เกิดจินตนาการ เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการให้ออกมาสวยงาม มีความภูมิใจในตัวเองและมีความสุขกับผลงานที่ออกมา และยิ่งมีความสุขมากขึ้นเมื่อได้มอบให้กับคนพิเศษ
ทานผักผลไม้สด ธัญพืชไม่ขัดสี
         
          ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง โฮลวีท ลูกเดือย ถั่ว แอปเปิ้ลเขียว ลดเสี่ยงโรคหัวใจได้เช่นกัน เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามิน E สูงและเส้นใยชนิดละลายในน้ำ (Soluble fiber) ซึ่งจะสามารถลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ดีด้วย
ดื่มไวน์บำรุงหัวใจ
          ในไวน์ที่ได้จากการหมักองุ่น โดยเฉพาะองุ่นแดงจะพบมากกว่าสีขาว ในองุ่นมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ซึ่งเป็นสารประกอบฟีนอล ช่วยลดคอเลสเตอรอล ที่เกาะตามผนังเส้นเลือด ลดความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ (ปริมาณฟีนอลในไวน์)
น้ำ...เพื่อชีวิต
         
          น้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกาย 85% ยิ่งได้รับน้ำมาก สุขภาพก็ยิ่งดี แต่หากร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ เลือดจะไหลเวียนไม่สะดวก เมื่อเราดื่มน้ำมากๆ เลือดก็จะไหลเวียนได้ง่ายขึ้น ป้องกันอาหารกปวดศีรษะ ไม่เป็นโรคหลอดเลือดอุดตันหรือแม้แต่โรคหัวใจ หากรู้สึกเพลีย ง่วง หงุดหงิด ไม่สดชื่น การดื่มน้ำเปล่าที่อุณหภูมิปกติ จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมน้ำได้ทันที ช่วยให้รู้สึกสดชื่นขึ้นอย่างรวดเร็ว
ออกกำลังกายให้พอดี ๆ
         
          ขณะออกกำลังกาย หัวใจจะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อส่งเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ซึ่งหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นจากปกติ 2-4 เท่า แล้วแต่ความหนักของการออกกำลังกาย นอกจากนี้การออกกำลังกายต้องพิจารณาเรื่องของอายุ ความแข็งแรงของร่างกาย ของแต่ละคนด้วย เพราะผู้ที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ การเลือกรูปแบบการออกกำลังกายและระดับความหนักเบาจะต่างกันไป ที่สำคัญควรมีการปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อความปลอดภัย นอกจากนี้ขณะออกกำลังกายร่างกายจะดึงไกลโคเจน (Glycogen) ที่สะสมมาเผาผลาญเป็นพลังงาน ถ้าออกกำลังกายนานและหนักมาก ไกลโคเจนที่สะสมไว้หมด ร่างกายจะดึงคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาเป็นพลังงานแทน ส่งผลให้กล้ามเนื้อฝ่อได้แอโรบิค หมายถึง การออกกำลังกายที่ต่อเนื่องประมาณอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้ร่างกายเพิ่มการเผาผลาญพลังงานมากขึ้น ช่วยให้ระบบการทำงานของปอด ระบบหลอดเลือดและหัวใจดีขึ้น เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ การปั่นจักรยาน การเดิน เป็นต้น
สัตว์เลี้ยงตัวโปรด
          ควรเป็นสัตว์ชนิดที่ผู้เลี้ยงถูกชะตา เกิดความชอบและอยากจะดูแล บางคนอาจชอบสัตว์ที่เลี้ยงแล้วไม่ต้องมาคลอเคลียใกล้ ๆ เช่น นก ปลา เต่า แต่บางคนชอบที่จะมีสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ๆ เป็นเพื่อน เช่น แมว สุนัข ซึ่งสุนัขเป็นสัตว์ที่รักเจ้าของโดยไม่มีข้อแม้ ไม่ว่าเจ้าของจะดุ ดีในบางครั้ง มันอาจจะแค่งอนเจ้าของชั่วครู่ แล้วก็กลับมารักคลอเคลียเราเหมือนเดิม คนที่เลี้ยงสุนัขกลับบ้านมาจะรู้สึกดีทันที ที่เห็นสุนัขเดินส่ายหางวิ่งเข้ามาหา ดังนั้นการได้เล่นกับสัตว์ ได้ดูแล เป็นที่พึ่งและเป็นผู้ให้ จะทำให้เจ้าของรู้สึกเป็นสุข จิตใจกระปรี้กระเปร่า สดชื่น ซึ่งทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟินส์ออกมา
มองโลกในแง่ดี ไม่เครียด
         
          การมองโลกในแง่ร้ายและความเครียด จะส่งผลกับพฤติกรรมที่ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวเนื่องกับโรคหัวใจ เช่น พฤติกรรมการกินอาหาร ที่ไม่ใส่ใจสุขภาพ กินตามความอยาก เช่น มันฝรั่งทอด ไก่ทอด พิซซ่า ซึ่งเป็นอาหารที่มีโซเดียม คอเลสเตอรอลสูง พฤติกรรมการออกกำลังกายที่ไม่สม่ำเสมอ ไม่เห็นประโยชน์ที่ต้องทำ เป็นต้น การมองโลกในแง่ร้าย คิดว่าปัญหาไม่มีทางแก้ไขให้ดีขึ้น ส่งผลทำให้เครียด เมื่อคนเรามีอาการเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenalin) และนอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin) ซึ่งส่งผลให้หลอดเลือดหดตัว หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ในการที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายให้ได้   
ฝึกเป็นผู้ให้บ้าง
         
          หากิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุข โดยที่ไม่ทำให้ตัวเองหรือคนอื่นเดือดร้อน ฝึกระงับอารมณ์ เช่น ไปทำบุญ ปล่อยปลา ระงับความโกรธจากการถูกเหยียบเท้า แล้วไม่ขอโทษหงุดหงิดที่เขาดึงเสื้อราคาเซลส์ตัวสวยไปจากคุณ เมื่อทำได้อย่างนั้นแล้ว จะให้เรารู้สึกอิ่มใจไปกับการให้นั้น เป็นการคิดบวกเพื่อเพิ่มคุณค่าในจิตใจ และจะรู้สึกยินดีไปกับเรื่องนั้น ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสารแห่งความสุขด้วย เช่นเดียวกัน
อัตราชีพจรในอัตราที่เหมาะสม
เมื่อออกกำลังหัวใจตามอายุในคนปกติ

อายุ (ปี)                             อัตราชีพจรที่เหมาะสม (ครั้งต่อนาที)
   20                                                118-157
   25                                                118-155
   30                                                115-153
   40                                                112-150   


7 วิธีป้องกันโรคหัวใจ

อาหารนอกบ้านมักจะมีปริมาณมากเกินเป็น 2 เท่าของอาหารสุขภาพ

Hiker
โรคหัวใจขาดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของสหรัฐอเมริกา เว็บไซต์เผยแพร่ความรู้ของโรงพยาบาลพลานเทชั่น เจเนอรัล (www.myhealthpublisher.com) ได้รวบรวมคำแนะนำของสมาคมโรคหัวใจอเมริกา และสมาคมแพทย์สตรีอเมริกาในการป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
คำแนะนำนี้นอกจากจะช่วยป้องกันโรคห้วใจ-เส้นเลือดแล้ว ยังมีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก(ลดความอ้วน) และส่งเสริมสุขภาพทั่วไปอีกด้วย
    คำแนะนำ:     
  1. ลดไขมันสัตว์                                                                           
    ไขมันสัตว์มีไขมันอิ่มตัวสูง ถ้ากินเนื้อสัตว์ให้เลือกกินเฉพาะเนื้อไม่ติดมัน (lean meat) ไม่กินมันสัตว์ สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ฯลฯ จะมีไขมันมาในส่วนหนัง ควรเอาหนังออกก่อนกิน (poultry without skin)

  2. ลดไข่แดง                                                                              
    ไข่แดงเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง รสชาติดี แต่มีโคเลสเตอรอลสูง ส่วนไข่ขาวมีโปรตีนสูง และไม่มีโคเลสเตอรอลเลย

    ถ้าต้องการทำอาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ไข่เจียว ฯลฯ ให้ลดสัดส่วนไข่แดงลง เช่น ผสมไข่แดง 1 ฟองกับไข่ขาว 2-3 ฟอง แทนการใช้ไข่ทั้งฟอง 2 ฟอง ฯลฯ

  3. ผัดสเปรย์                                                                              
    ถ้าชอบอาหารผัดให้ลองนำน้ำมันใส่ในขวดสเปรย์ (cooking spray) ฉีดน้ำมันลงบนกะทะเทฟลอน วิธีนี้จะทำอาหารผัดไขมันต่ำได้

  4. กินพืชผัก                                                                               
    กินพืชผักหลัก 4 กลุ่มได้แก่ ข้าวกล้อง ถั่ว ผัก และผลไม้เป็นอาหารจานหลัก (main dish) ลดการกินเนื้อลง และควรใส่ในจานขนาดเล็ก (side dish)

    ควรพยายามกินโปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนถั่วเหลือง เต้าหู้ ฯลฯ ถ้าไปกินอาหารนอกบ้านควรสั่งผักต้มหรือผักลวกมาเสริม

  5. กินนมไขมันต่ำ                                                                          
    ให้กินนมที่ไม่มีไขมัน (nonfat milk) หรือนมไขมันต่ำ (low fat milk) แทนการกินนมเต็มส่วน (whole milk) เนื่องจากนมเต็มส่วนมีไขมัน และโคเลสเตอรอลค่อนข้างสูง

    ถ้ากินเนยเทียม...ให้เลือกชนิดไขมันต่ำ และเกลือต่ำ โดยดูจากฉลากอาหาร (food label) ที่ผลิตภัณฑ์

  6. กินปลา                                                                                  
    กินปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง โดยเฉพาะปลาทูน่า และปลาแซลมอน ซึ่งเป็นปลาที่มีไขมันชนิดดีมาก (โอเมก้า-3) สูง และมีระดับสารพิษ(ปรอท)ซึ่งพบในปลาทะเลค่อนข้างต่ำ

  7. กินนอกบ้านน้อยหน่อย                                                      
    อาหารนอกบ้านมักจะมีปริมาณมากเกินเป็น 2 เท่าของอาหารสุขภาพ จึงควรกินประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณที่จำหน่าย

    การทำกับข้าวกินเอง โดยเฉพาะอาหารสุขภาพที่หวาน-เค็ม-มันน้อยหน่อย ผัก-ถั่ว-งา-เห็ดมากหน่อยมีส่วนช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้

การป้องกันโรคหัวใจ

แม้ว่าโรคหัวใจจะเป็นสาเหตุการเสียชีวิตทั้งชายและหญิง แต่โรคหัวใจเป็นโรคที่ป้องกันได้ของเพียงเราไม่ประมาท ให้เรารู้เท่าทันโรคก็จะป้องกันโรคนี้ได้
การป้องกันโรคหัวใจจะเริ่มเมื่อใด
ผู้คนทั่วไปมักจะละเลยการป้องกันโรค รู้อีกทีก็เป็นโรคไปแล้วจะเรียกว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตาก็ได้ การป้องกันควรจะเริ่มให้เร็วที่สุดเพราะว่าหากเริ่มช้า การเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ได้มีการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดเริ่มตั้งแต่หนุ่มสาว เพราะฉนั้นหากเราเริ่มตอนกลางคนผลการควบคุมอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงแนะนำว่าให้เริ่มทำตั้งแต่วัยรุ่น บางท่านผ่านวัยรุ่นมาแล้วก็ให้ทำทันที
การป้องกันโรคหัวใจควรทำอย่างไร
การป้องกันโรคหัวใจมีหลักง่ายๆสองข้อคือ
  1. เรียนเรื่องความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  2. การจัดการกับความเสี่ยงนั้น
ความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจมีสองประเภทคือ
ประเภทที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  • อายุ
  • เพศ
  • เชื้อชาติ
  • กรรมพันธ์
  • หญิงวัยทอง
ประเภทที่เปลี่ยนแปลงได้ได้แก่
  • การสูบบุหรี่
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคเบาหวาน
  • ไขมันในเลือด
  • โรคอ้วน
  • การขาดการออกกำลังกาย
  • ความเครียด
  • การใช้ยา cocain
  • หญิงที่ทานยาคุมกำเนิด และสูบบุหรี่
  • ความเครียด
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวควรจะทำการป้องกันทันที หากยังใช้ชีวิตอย่างประมาทก็อาจจะทำให้เกิดโรคหัวใจได้

เราจะป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร

1การหยุดสูบบุหรี่

หากท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้ หารหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เหมือนคนที่สูบบุหรี่เรื่องว่าเป็นผลจากการสูบบุหรี่มือสอง
  • บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4800 ชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย
  • บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิด จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
ข่าวดีสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ หากท่านหยุดสูบบุหรี่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยประมาณว่าจะเหมือนคนปกติใน 1 ปี
  • อ่านเรื่องบุหรี่ที่นี่
  • อ่านเรื่องหลอดเลือดแดงตีบที่นี่

2การออกกำลังกาย

ทุก ท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้1ใน4 หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่น จะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นผลดีของการออกกำลังกาย
  • ทำให้หัวใจแข็งแรง
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น
  • ลดระดับความดันโลหิต
  • ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด
แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ30-40 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วันหากไม่สามารถออกกำลังดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการ ทำงานบ้านเพิ่ม เช่นการทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟท์ อ่านรายละเอียด
  • การออกกำลังกาย
  • การออกกำลังเพื่อปอดและหัวใจ
  • การออกกำลังกายสำหรับความดันโลหิตสูง

3การรับประทานอาหารสุขภาพ

อาหารเพื่อสุขภาพการ รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับป้องกันโรคหัวใจ จะเป็นอาหารที่ป้องกันโรคที่เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง รวมทั้งปริมาณอาหารก็ไม่ควรจะเกิน
  • หลีกเลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat) ,Tran_fatty acid ได้แก่ น้ำมันปามล์ น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด ฟิสซ่า กล้วยแขก เนย มาการีน
  • ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน
  • รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3-fatty acid
  • อ่านเรื่องที่น่าสนใจ
  • อาหารที่ป้องกันโรคหัวใจ
  • อาหารสุขภาพดี
  • ถั่ว
  • ไขมัน

4การรักษาน้ำหนัก

โรคอ้วนสาเหตุ ของโรคอ้วนมีด้วยกันสองสาเหตุได้ สาเหตุทางกรรมพันธ์ และสาเหตุทางพฤติกรรม ทางกรรมพันธ์คงจะไปเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ทางพฤติกรรมจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วนร้อยละ 70 ดังนั้นหากมีการปรับพฤติกรรมก็จะสามารถลดน้ำหนักได้ คนอ้วนจะทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดตีบ และโรคหัวใจ ปัญหาว่าเมื่อไรจึงจะถือว่าอ้วน เราจะใช้ดัชนีมวลกายคนไทยให้ไม่เกิน 25 นอกจากนั้นยังใช้การวัดเส้นรอบเอว หากเกิน 90,80 ซม ในชายและหญิงถือว่าเสี่ยงต่อการเกิดโรค อ่าน
  • โรคอ้วน
  • ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว
  • กลุ่มโรค Metabolic Syndrome

5การตรวจสุขภาพ

ตรวจหัวใจการ ตรวจสุขภาพหมายถึงการที่ท่านจะต้องพิจารณาว่า ท่านมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหรือไม่ เช่น การพักผ่อน ความเครียด การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือไม่ หากท่านพบว่าท่านมีความเสี่ยงข้อใด ท่านจะต้องปรับปรุงพฤติกรรม สำหรับบางท่านการตรวจร่างกายโดยการเจาะเลือด และแพทย์ตรวจก็มีความจำเป็นเนื่องจากบางโรคไม่มีอาการ เช่นความดันโลหิตที่เริ่มเป็น ไขมันในเลือดสูง เบาหวานที่เริ่มเป็น ท่านที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อ้วน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ
  • ความดันโลหิต
  • ระดับไขมันในเลือด
  • ระดับน้ำตาล
  • การตรวจหัวใจในกรณีที่มีความเสี่ยงมาก
เป็นการตรวจประจำปี