Sunday, October 7, 2012

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคหัวใจ


โรคหัวใจ นั้นเป็นคำที่มีความหมายกว้าง และเราสามารถแบ่งได้หลายชนิด ดังนี้
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้

โรคลิ้นหัวใจ ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้



โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น การรักษา อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ



โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน สาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด

วิดีโอต่อไปนี้ เป็นสาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ



โรคเยื่อหุ้มหัวใจ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ



โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น

การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก

มะเร็งที่หัวใจ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น



ลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ



อาการหอบ
อาการเหนื่อยแบบหมดแรง
อาการใจสั่น คือ การที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ผิดจังหวะ หรือ เต้นไม่สม่ำเสมอ
อาการขาบวมจากโรคหัวใจ เกิดจากการที่หัวใจด้านขวาทำงานลดลง เลือดจากขาไม่สามารถ ไหลเทเข้าหัวใจด้านขวาได้โดยสะดวก จึงมีเลือดค้างอยู่ที่ขามากขึ้น


อาการปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีลักษณะเขียวคล้ำ อาการดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ทางเดินของเลือดในหัวใจห้องขวากับห้องซ้ายมีการเชื่อมต่อที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการผสมของเลือดแดงกับเลือดดํา และทําให้ปริมาณของออกซิเจนในเลือดมีปริมาณน้อยลง

การป้องกันโรคหัวใจก่อนที่จะสายเกินแก้

สังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน เช่น ดูว่าอัตราการเต้นของหัวใจปกติดีหรือไม่ เจ็บหน้าอก ใจสั่นบ่อยๆ หรือเปล่า เป็นต้น

         ออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ สุขภาพจิตแจ่มใสแล้ว ยังช่วยให้หัวใจสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้นอีกด้วย

          ดูแลสุขภาพใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ พยายามไม่เครียด รู้จักควบคุมอารมณ์ และพึงระลึกไว้เสมอว่า ความเครียดและความโกรธ เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้หัวใจเต้นแรง และทำงานหนักขึ้น

          รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ โดยงดอาหารที่มีไขมันสูง ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบได้ง่าย และหันไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น

ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อป้องกันและรักษาโรคร้ายที่อาจคาดไม่ถึง เช่น โรคหัวใจ ซึ่งแฝงอยู่ในตัวเราตั้งแต่เนิ่นๆ

การตรวจทางโรคหัวใจ
การ ตรวจทางโรคหัวใจ ต้องอาศัยประวัติ อาการที่ละเอียด เพื่อดูว่าอาการดังกล่าวอาจเกิดจากโรคหัวใจหรือไม่ เนื่องจากมีหลายโรคที่ให้อาการคล้ายกับโรคหัวใจ อาจแบ่งคร่าวๆได้ 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ


การตรวจพื้นฐาน ได้แก่

การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจร่างกายทุกระบบด้วย เพื่อดูว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่

คลื่นไฟฟ้าหัวใจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจจะบอกจังหวะการเต้นของหัวใจ บอกขนาดห้องหัวใจ บอกโรคของเยื่อหุ้มหัวใจบางชนิด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย โดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะผิดปกติก็ต่อเมื่อมีโรคหัวใจที่รุนแรง เช่น หัวใจขาดเลือดรุนแรง คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ปกติ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ได้เป็นโรคหัวใจ

เอกซเรย์ทรวงอก ซึ่งจะเห็นทั้งปอด หลอดเลือดแดงใหญ่ การกระจายของเลือดในปอด ภาวะน้ำท่วมปอด หรือ หัวใจล้มเหลว เงาของหัวใจซึ่งบอกขนาดหัวใจได้ดีพอควร

ตรวจเลือด ส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหัวใจโดยตรง แต่เป็นการดูเพื่อหาปัจจัยเสี่ยง ของโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน



การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

การทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย Exercise Stress Test
การทดสอบการเป็นลมด้วยเตียงปรับระดับ Tilt Table Test
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชม. Holter หรือ Ambulatory ECG monitoring
การสวนหัวใจและฉีด"สี"ดูหลอดเลือดหัวใจ Cardiac Catheterization and Angiogram
การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน Angioplasty
การตรวจระบบไฟฟ้าหัวใจ Electrophysiologic Study
การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุ Radiofrequency Ablation
การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร Permanent Cardiac Pacemaker


ที่มา :


http://www.thaiheartweb.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538921876&Ntype=8

http://cardiac-blog.blogspot.com/2009/10/heart-diseases-cardiac-diseases.html

http://health.kapook.com/view28.html

0 comments:

Post a Comment